Call for papers
Thoughts 2010 welcomes articles on various topics in the areas of literature, language, and translation, in both English and Thai.
Prospective contributors should send 2 copies of their papers of about 10-20 pages in length (including abstracts) to the editor, typed in single space on A4 paper.
The font used for English papers should be Times New Roman 12 and that for Thai papers should be Cordia New 16.
References should conform to the requirements of the Modern Language Association of America (MLA).
All papers will be subject to review by two scholars.
The deadline for submitting the first draft for the 2010 issue is December 30, 2009.
Further inquiries please contact:
Assistant Professor Jiranthara Srioutai, PhD
Editor of the 2010 issue
Department of English, Faculty of Arts
Chulalongkorn University
Tel. 02-2184707
Email: jiranthara.s@chula.ac.th
Monday, November 30, 2009
Tuesday, August 18, 2009
I Was Made To Praise You
I was made to praise you
I was made to glorify your name
in every circumstance
to find a chance to thank you
I was made to love you
I was made to worship at your feet
And to obey you, Lord
I was made for you
I will always praise you
I will always glorify your name
in every circumstance
I'll find a chance to thank you
I will always to love you
I will always worship at your feet
And I'll obey you, Lord
I was made for you
(Japanese)
あなたをたたえ あなたの御名かかげ
どんな時も 感謝するため
あなたを愛し そのみもとで拝し
従うため 創られた
(Japanese, Roman characters)
Anata wo tatae, Anata no mina kakage,
Donna toki mo, kansha suru tame,
Anata wo ai-shi, sono mimoto de hai-shi,
Shitagau tame, tsukurareta.
I was made to glorify your name
in every circumstance
to find a chance to thank you
I was made to love you
I was made to worship at your feet
And to obey you, Lord
I was made for you
I will always praise you
I will always glorify your name
in every circumstance
I'll find a chance to thank you
I will always to love you
I will always worship at your feet
And I'll obey you, Lord
I was made for you
(Japanese)
あなたをたたえ あなたの御名かかげ
どんな時も 感謝するため
あなたを愛し そのみもとで拝し
従うため 創られた
(Japanese, Roman characters)
Anata wo tatae, Anata no mina kakage,
Donna toki mo, kansha suru tame,
Anata wo ai-shi, sono mimoto de hai-shi,
Shitagau tame, tsukurareta.
Monday, August 10, 2009
Thai Yaki
Saturday, August 01, 2009
Tuesday, July 28, 2009
7%
Got it from P' Mom. Would it be okay not to be among the 7%, who forward this, but just to post it here?
My top three favorites:
Not quite agree with these:
---
My top three favorites:
When it comes to chocolate, resistance is futile.
What other people think of you is none of your business.
God loves you because of who God is, not because of anything you did or didn't do.
Not quite agree with these:
It's OK to get angry with God. He can take it.-- But better not.
Always choose life.-- Always choose God.
---
Written By Regina Brett, 90 years old, of The Plain Dealer, Cleveland, Ohio. "To celebrate growing older, I once wrote the 45 lessons life taught me. It is the most-requested column I've ever written. My odometer rolled over to 90 in August, so here is the column once more:"
Life isn't fair, but it's still good.
When in doubt, just take the next small step.
Life is too short to waste time hating anyone.
Your job won't take care of you when you are sick. Your friends and parents will. Stay in touch.
Pay off your credit cards every month.
You don't have to win every argument. Agree to disagree.
Cry with someone. It's more healing than crying alone.
It's OK to get angry with God. He can take it.
Save for retirement starting with your first paycheck.
When it comes to chocolate, resistance is futile.
Make peace with your past so it won't screw up the present.
It's OK to let your children see you cry.
Don't compare your life to others. You have no idea what their journey is all about.
If a relationship has to be a secret, you shouldn't be in it.
Everything can change in the blink of an eye.
Take a deep breath. It calms the mind.
Get rid of anything that isn't useful, beautiful or joyful.
Whatever doesn't kill you really does make you stronger.
It's never too late to have a happy childhood. But the second one is up to you and no one else.
When it comes to going after what you love in life, don't take no for an answer.
Burn the candles, use the nice sheets, wear the fancy lingerie. Don't save it for a special occasion. Today is special.
Over prepare, then go with the flow.
Be eccentric now. Don't wait for old age to wear purple.
The most important sex organ is the brain.
No one is in charge of your happiness but you.
Frame every so-called disaster with these words 'In five years, will this matter?'
Always choose life.
Forgive everyone for everything.
What other people think of you is none of your business.
Time heals almost everything. Give time time.
However good or bad a situation is, it will change.
Don't take yourself so seriously. No one else does.
Believe in miracles.
God loves you because of who God is, not because of anything you did or didn't do.
Don't audit life. Show up and make the most of it now.
Growing old beats the alternative -- dying young.
Your children get only one childhood.
All that truly matters in the end is that you loved.
Get outside every day. Miracles are waiting everywhere.
If we all threw our problems in a pile and saw everyone else's, we'd grab ours back.
Envy is a waste of time. You already have all you need.
The best is yet to come.
No matter how you feel, get up, dress up and show up.
Yield.
Life isn't tied with a bow, but it's still a gift."
It's estimated 93% won't forward this. If you are one of the 7% who will, forward this with the title '7%'.
Thursday, July 23, 2009
บทนำ
จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน
มัทธิว 7:7
เมื่อไม่นานมานี้ พี่น้องคริสเตียนคนไทยคนหนึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าได้ไปเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง เพราะก่อนหน้านั้นได้อธิษฐานขอบางอย่างไว้ โดยกล่าวไว้ด้วยว่าหากพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน จะไปเลี้ยงอาหารเด็กๆ ที่นั่น และต่อมาเมื่อได้สิ่งที่อธิษฐานขอไว้ จึงไปเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแห่งนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการทำเช่นนี้ไม่น่าจะเป็นไปตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ การอธิษฐานลักษณะนี้ศจ. จักรพันธ์ ชูเกียรติวงศ์กุล เรียกว่า “การอธิษฐานต่อรอง” และกล่าวว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ
ในรายงานฉบับนี้ ข้าพเจ้าสนับสนุนว่า “การอธิษฐานต่อรอง” เป็นสิ่งไม่ควรทำ และเสนอว่าเมื่อเราอธิษฐานขอสิ่งต่างๆ จากพระเจ้านั้น ไม่ใช่เป็นการบนบานศาลกล่าว เราจึงไม่ควรสัญญาว่าเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐานแล้วเราจะทำอะไรเป็นการตอบแทน สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้แบ่งออกเป็น 4 บท กล่าวคือ การบนบานศาลกล่าวและการแก้บนในสังคมไทย การอธิษฐานในคริสตศาสนา บทอภิปราย และบทสรุป ในบทแรก ข้าพเจ้าอภิปรายเกี่ยวกับการบนบานศาลกล่าวและการแก้บนอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย ในบทที่ 2 ข้าพเจ้าศึกษาถึงการอธิษฐานขอสิ่งต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ในบทที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวถึงสาเหตุต่างๆ ที่การอธิษฐานในคริสตศาสนาแตกต่างจากการอธิษฐานในพุทธศาสนาและไม่ใช่การบนบานศาลกล่าวอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย และในบทสุดท้าย ข้าพเจ้าสรุปว่าการอธิษฐานไม่ใช่การบนบานศาลกล่าว
มัทธิว 7:7
เมื่อไม่นานมานี้ พี่น้องคริสเตียนคนไทยคนหนึ่งเล่าให้ข้าพเจ้าฟังว่าได้ไปเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแห่งหนึ่ง เพราะก่อนหน้านั้นได้อธิษฐานขอบางอย่างไว้ โดยกล่าวไว้ด้วยว่าหากพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน จะไปเลี้ยงอาหารเด็กๆ ที่นั่น และต่อมาเมื่อได้สิ่งที่อธิษฐานขอไว้ จึงไปเลี้ยงอาหารกลางวันเด็กๆ ที่สถานพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชนแห่งนั้น ข้าพเจ้าเข้าใจว่าการทำเช่นนี้ไม่น่าจะเป็นไปตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ การอธิษฐานลักษณะนี้ศจ. จักรพันธ์ ชูเกียรติวงศ์กุล เรียกว่า “การอธิษฐานต่อรอง” และกล่าวว่าเป็นสิ่งไม่ควรทำ
ในรายงานฉบับนี้ ข้าพเจ้าสนับสนุนว่า “การอธิษฐานต่อรอง” เป็นสิ่งไม่ควรทำ และเสนอว่าเมื่อเราอธิษฐานขอสิ่งต่างๆ จากพระเจ้านั้น ไม่ใช่เป็นการบนบานศาลกล่าว เราจึงไม่ควรสัญญาว่าเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐานแล้วเราจะทำอะไรเป็นการตอบแทน สิ่งที่จะเขียนต่อไปนี้แบ่งออกเป็น 4 บท กล่าวคือ การบนบานศาลกล่าวและการแก้บนในสังคมไทย การอธิษฐานในคริสตศาสนา บทอภิปราย และบทสรุป ในบทแรก ข้าพเจ้าอภิปรายเกี่ยวกับการบนบานศาลกล่าวและการแก้บนอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย ในบทที่ 2 ข้าพเจ้าศึกษาถึงการอธิษฐานขอสิ่งต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ในบทที่ 3 ข้าพเจ้ากล่าวถึงสาเหตุต่างๆ ที่การอธิษฐานในคริสตศาสนาแตกต่างจากการอธิษฐานในพุทธศาสนาและไม่ใช่การบนบานศาลกล่าวอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย และในบทสุดท้าย ข้าพเจ้าสรุปว่าการอธิษฐานไม่ใช่การบนบานศาลกล่าว
การบนบานศาลกล่าวและการแก้บนในสังคมไทย
เสฐียรโกเศศ เล่าว่าเมื่อพ.ศ. 2494 ได้ไปเห็นศาลเทพารักษ์แห่งหนึ่งที่จังหวัดสุโขทัยมีมะพร้าวห้าวผลเล็กผลใหญ่ติดทองคำเปลวแขวนไว้ตามชายคา เมื่อถามดู ปรากฏว่าเป็นการแก้บนจากที่บนบานไว้ว่าถ้าได้ตามที่ขอ จะแก้บนเป็นทองคำเท่าลูกมะพร้าว ส่วนหนังสือพิมพ์คม ชัด ลึก ฉบับวันที่ 27 สิงหาคม 2008 คอลัมภ์ “ว่าที่ผู้ว่า กทม. บน ... อะไร ที่ไหน อย่างไร” รายงานว่าผู้สมัครลงเลือกตั้งตำแหน่งผู้ว่ากรุงเทพมหานครหลายคน ไม่ว่าจะเป็นนายอภิรักษ์ โกษะโยธิน นายพิจิตต รัตตกุล นายวรัญชัย โชคชนะ นายมานะ มหาสุวีระชัย รวมไปถึงนางลีนา จังจรรยา และนางปวีณา หงสกุล ต่างก็ไปสักการะสถานที่ศักดิ์สิทธิ์หลายแห่ง อาทิ วัดพระแก้วมรกต ศาลหลักเมือง และวัดชนะสงคราม โดยกล่าวว่าเพื่อให้เป็นสิริมงคลกับตัวเอง โดยเฉพาะนางปวีณา หงสกุลกล่าวว่า หากชนะการเลือกตั้ง อาจจะต้องใช้เวลาเดินสายแก้บนเป็นเดือน เพราะได้บนไว้กับสถานที่ศักดิ์สิทธิ์จำนวนมาก สองเรื่องนี้แสดงให้เห็นว่าการบนบานศาลกล่าวอยู่คู่กับสังคมไทยมาช้าแล้วและน่าจะยังดำเนินต่อไปแม้กระทั่งในคนระดับผู้นำ เสฐียรโกเศศ ยังแสดงให้เห็นอีกด้วยว่าวิธีการแก้บนอาจเป็นการเลี่ยงคำสัญญาว่าจะถวายสิ่งที่ไม่อาจถวายได้ (คือทองคำเท่าลูกมะพร้าว)โดยใช้อุบาย (คือมะพร้าวห้าวติดทองคำเปลว)
ในหนังสือ “สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้” อโณทัย เขตต์บรรพต กล่าวว่าการบนบานศาลกล่าวเป็นการขอจากพระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ วิญญาณต่างๆ สิ่งที่ขอมีหลากหลาย อาจเป็นสิ่งของ การงาน คนหาย ไปจนถึงโชคลาภ ความร่ำรวย และเมื่อได้สิ่งที่ขอ หรือ “บน” ไว้ ก็ต้องแก้บน ณภัค พยากรณ์ แนะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อาจจะไปบนศาลศาลกล่าวได้ไว้ในเวบไซต์หนึ่ง โดยระบุไว้ด้วยว่าเรื่องที่ควร “บน” กับแต่ละที่คืออะไร และควรแก้บนอย่างไร ในที่นี้ขอยก 7 ตัวอย่างจากเวบไซต์ดังกล่าวในตารางข้างล่างนี้
ตารางที่ 1 ตัวอย่างสิ่งศักดิ์สิทธ์และการบนบานศาลกล่าว
เรื่องที่บน วิธีบน วิธีแก้บน
พระเจ้าตากสิน
วงเวียนใหญ่
การเรียน การงาน การค้าขาย หนี้สินจากการค้าขาย ใช้ธูป 16 ดอก พวงมาลัยดาวเรือง หรือมะลิและดาวเรือง (หากขอพรให้ใช้ธูป 9 ดอก) ตามคำกล่าว หรือถวายอาหาร
พระตรีมูรติ
ความรัก เทียนแดง 1 เล่ม ธูปแดง 9 ดอก ในช่วง 09.30–21.30 น.
ตามคำกล่าว หรือ
น้ำผลไม้ กุหลาบแดง พวงมาลัยกุหลาบ
รูปปั้นช้าง
พระพรหมเอราวัณ
การงาน การเรียน จุดธูป 12 ดอก ไหว้ทั้ง 4 หน้า ตามคำกล่าว หรือรำแก้บน
วัดหลวงพ่อโสธร
การมีบุตร โชคลาภ จุดธูป 16 ดอก และพวงมาลัย ตามคำกล่าว ถวายละคร หรืออาหาร
ศาลเจ้าพ่อเสือ
การค้าขาย วาสนาบารมี ธูป 18 ดอก ปัก 6 กระถาง เทียนแดง 1 คู่ มาลัย 1 พวง หรือถวายเงินเติมน้ำมันนตะเกียง ตามคำกล่าว
ศาลย่านาค
วัดมหาบุศย์
โชคลาภ ความรัก การเกณฑ์ทหาร จุดธูป 9 ดอก ตามคำกล่าว หรือถวายผ้าถุง พวงมาลัย ของเล่นเด็ก
ศาลหลักเมือง
ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัวผ้า แพร 3 สี ถวายพวงมาลัย หรือผูกผ้า 3 สี
อย่างไรก็ตาม อโณทัย เขตต์บรรพต กล่าวว่าการขอโดยการบนบานศาลกล่าวไม่ใช่หลักทางพุทธศาสนา โดยให้เหตุผลว่าในพุทธศาสนามีวิธีอื่นที่ทำให้ “สมความปรารถนา” ได้ดีกว่าการ “บน” และกล่าวต่อไปว่านั่นคือ “การอธิษฐาน” อันได้แก่ การขออย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีเนื่องจากมีบุญกุศลเป็นสิ่งรองรับ อโณทัย เขตต์บรรพต เปรียบเทียบการบนบานศาลกล่าวและการอธิษฐานในพุทธศาสนาไว้โดยมีสาระสำคัญดังแสดงในตารางที่ 2 นี้
ตารางที่ 2 การบนบานศาลกล่าวและการอธิษฐานในพุทธศาสนา
คำจำกัดความ สิ่งที่ขอ โอกาส “ได้”
การบนบานศาลกล่าว การขออะไร ที่ใดก็ได้ ขอได้อย่างไม่จำกัด แม้เมื่อมีปัญหาเล็กน้อย เรื่องใดก็ได้ทั้งดีและไม่ดี น้อย เมื่อได้แล้วต้องชดใช้ หรือแก้บน
การอธิษฐานใน
พุทธศาสนา การขออย่างมีหลักการ ศักดิ์ศรีและจุดประสงค์ที่เด่นชัด เมื่อมีความจำเป็นในเวลาวิกฤต เรื่องที่ดี มาก เนื่องจากมีบุญกุศลที่ทำมาแล้วเป็นปัจจัยเกื้อหนุน เมื่อได้แล้วไม่ต้องชดใช้ หรือแก้บน
นอกจากนี้อโณทัย เขตต์บรรพต ยังได้ให้แนวทางการอธิษฐานไว้คือ ตั้งใจเป็นสมาธิหรือมีสติแล้วอธิษฐานว่า “ด้วยบุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้เคยทำมาแล้วในอดีต กำลังทำในปัจจุบัน และที่จะทำต่อไปในอนาคตขอให้เป็นพลว (อ่านว่า พะ-ละ-วะ) ปัจจัยให้ ... (ให้กล่าวเรื่องที่ต้องการขอ)”
หลังจากบทนี้กล่าวถึงการบนบานศาลกล่าว การแก้บน รวมไปถึงการอธิษฐานในพุทธศาสนาแล้ว ในบทต่อไปข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการอธิษฐานในคริสตศาสนาในแง่ที่เป็นการขอสิ่งต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์
ในหนังสือ “สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้” อโณทัย เขตต์บรรพต กล่าวว่าการบนบานศาลกล่าวเป็นการขอจากพระพุทธรูป สิ่งศักดิ์สิทธิ์ เจ้าพ่อ เจ้าแม่ วิญญาณต่างๆ สิ่งที่ขอมีหลากหลาย อาจเป็นสิ่งของ การงาน คนหาย ไปจนถึงโชคลาภ ความร่ำรวย และเมื่อได้สิ่งที่ขอ หรือ “บน” ไว้ ก็ต้องแก้บน ณภัค พยากรณ์ แนะนำสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อาจจะไปบนศาลศาลกล่าวได้ไว้ในเวบไซต์หนึ่ง โดยระบุไว้ด้วยว่าเรื่องที่ควร “บน” กับแต่ละที่คืออะไร และควรแก้บนอย่างไร ในที่นี้ขอยก 7 ตัวอย่างจากเวบไซต์ดังกล่าวในตารางข้างล่างนี้
ตารางที่ 1 ตัวอย่างสิ่งศักดิ์สิทธ์และการบนบานศาลกล่าว
เรื่องที่บน วิธีบน วิธีแก้บน
พระเจ้าตากสิน
วงเวียนใหญ่
การเรียน การงาน การค้าขาย หนี้สินจากการค้าขาย ใช้ธูป 16 ดอก พวงมาลัยดาวเรือง หรือมะลิและดาวเรือง (หากขอพรให้ใช้ธูป 9 ดอก) ตามคำกล่าว หรือถวายอาหาร
พระตรีมูรติ
ความรัก เทียนแดง 1 เล่ม ธูปแดง 9 ดอก ในช่วง 09.30–21.30 น.
ตามคำกล่าว หรือ
น้ำผลไม้ กุหลาบแดง พวงมาลัยกุหลาบ
รูปปั้นช้าง
พระพรหมเอราวัณ
การงาน การเรียน จุดธูป 12 ดอก ไหว้ทั้ง 4 หน้า ตามคำกล่าว หรือรำแก้บน
วัดหลวงพ่อโสธร
การมีบุตร โชคลาภ จุดธูป 16 ดอก และพวงมาลัย ตามคำกล่าว ถวายละคร หรืออาหาร
ศาลเจ้าพ่อเสือ
การค้าขาย วาสนาบารมี ธูป 18 ดอก ปัก 6 กระถาง เทียนแดง 1 คู่ มาลัย 1 พวง หรือถวายเงินเติมน้ำมันนตะเกียง ตามคำกล่าว
ศาลย่านาค
วัดมหาบุศย์
โชคลาภ ความรัก การเกณฑ์ทหาร จุดธูป 9 ดอก ตามคำกล่าว หรือถวายผ้าถุง พวงมาลัย ของเล่นเด็ก
ศาลหลักเมือง
ความมั่นคงในหน้าที่การงาน ธูป 3 ดอก เทียน 1 เล่ม ดอกบัวผ้า แพร 3 สี ถวายพวงมาลัย หรือผูกผ้า 3 สี
อย่างไรก็ตาม อโณทัย เขตต์บรรพต กล่าวว่าการขอโดยการบนบานศาลกล่าวไม่ใช่หลักทางพุทธศาสนา โดยให้เหตุผลว่าในพุทธศาสนามีวิธีอื่นที่ทำให้ “สมความปรารถนา” ได้ดีกว่าการ “บน” และกล่าวต่อไปว่านั่นคือ “การอธิษฐาน” อันได้แก่ การขออย่างมีเกียรติและศักดิ์ศรีเนื่องจากมีบุญกุศลเป็นสิ่งรองรับ อโณทัย เขตต์บรรพต เปรียบเทียบการบนบานศาลกล่าวและการอธิษฐานในพุทธศาสนาไว้โดยมีสาระสำคัญดังแสดงในตารางที่ 2 นี้
ตารางที่ 2 การบนบานศาลกล่าวและการอธิษฐานในพุทธศาสนา
คำจำกัดความ สิ่งที่ขอ โอกาส “ได้”
การบนบานศาลกล่าว การขออะไร ที่ใดก็ได้ ขอได้อย่างไม่จำกัด แม้เมื่อมีปัญหาเล็กน้อย เรื่องใดก็ได้ทั้งดีและไม่ดี น้อย เมื่อได้แล้วต้องชดใช้ หรือแก้บน
การอธิษฐานใน
พุทธศาสนา การขออย่างมีหลักการ ศักดิ์ศรีและจุดประสงค์ที่เด่นชัด เมื่อมีความจำเป็นในเวลาวิกฤต เรื่องที่ดี มาก เนื่องจากมีบุญกุศลที่ทำมาแล้วเป็นปัจจัยเกื้อหนุน เมื่อได้แล้วไม่ต้องชดใช้ หรือแก้บน
นอกจากนี้อโณทัย เขตต์บรรพต ยังได้ให้แนวทางการอธิษฐานไว้คือ ตั้งใจเป็นสมาธิหรือมีสติแล้วอธิษฐานว่า “ด้วยบุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้เคยทำมาแล้วในอดีต กำลังทำในปัจจุบัน และที่จะทำต่อไปในอนาคตขอให้เป็นพลว (อ่านว่า พะ-ละ-วะ) ปัจจัยให้ ... (ให้กล่าวเรื่องที่ต้องการขอ)”
หลังจากบทนี้กล่าวถึงการบนบานศาลกล่าว การแก้บน รวมไปถึงการอธิษฐานในพุทธศาสนาแล้ว ในบทต่อไปข้าพเจ้าจะกล่าวถึงการอธิษฐานในคริสตศาสนาในแง่ที่เป็นการขอสิ่งต่างๆ ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์
การอธิษฐานในคริสตศาสนา
การอธิษฐานในคริสตศาสนานั้นไม่ใช่เป็นเพียงสิทธิพิเศษของผู้เชื่อในการสนทนากับพระเจ้า แต่ยังเป็นหน้าที่อีกด้วย เมื่อพิจารณาข้อพระคริสตธรรมคัมภีร์ในมาระโก 1: 35 ที่ว่า “ครั้นเวลาเช้ามืดพระองค์ได้ทรงลุกขึ้นเสด็จออกไปยังที่เปลี่ยว และทรงอธิษฐานที่นั่น” และในลูกา 6: 12 ที่ว่า “ต่อมาคราวนั้นพระองค์เสด็จไปที่ภูเขาเพื่อจะอธิษฐาน และได้อธิษฐานต่อพระเจ้าคืนยังรุ่ง” จะเห็นว่าสำหรับพระเยซู การอธิษฐานสำคัญกว่าการนอนหลับพักผ่อน ส่วนกิจการ 6: 4 “ฝ่ายพวกเราจะขะมักเขม้นอธิษฐานและสั่งสอนพระวจนะเสมอไป” แสดงให้เห็นว่าอัครสาวกทั้ง 12 คนจัดลำดับให้การอธิษฐานมาก่อนการเทศนา จากข้อคิดเห็นของ J. Robert Ashcroft เมื่อผู้เชื่ออธิษฐาน สิ่งที่ควรปฏิบัติคือระลึกถึงพระเจ้า มีท่าทีที่ถูกต้องต่อพระเจ้า ฟังพระสุรเสียง ใช้พระวจนะในคำอธิษฐาน อธิษฐานเผื่อผู้อื่น ร่วมใจอธิษฐานกับผู้เชื่ออื่น และขอให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงช่วยในการอธิษฐาน
ในลูกา 11: 2–4 เมื่อสาวกขอให้พระองค์สอนเรื่องการอธิษฐาน พระเยซูตรัสดังนี้
เมื่อท่านอธิษฐานจงว่า “ข้าแต่พระบิดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้สถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ ขอให้อาณาจักรของพระองค์มาตั้งอยู่ น้ำพระทัยของพระองค์สำเร็จในสวรรค์อย่างไร ก็ให้สำเร็จบนแผ่นดินโลกเหมือนกันอย่างนั้น ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายทุกๆ วันขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยว่าข้าพระองค์ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น ขออย่าทรงนำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้ข้าพระองค์พ้นจากความชั่วร้าย”
เห็นได้ว่าคำอธิษฐานนี้ประกอบด้วยคำขอทั้งหมด 7 ข้อ แบ่งได้เป็น 2 ตอน กล่าวคือตอนแรกข้อ 1–3 เป็นคำขอสำหรับพระสิริ ดังนี้
1. ขอให้พระนามของพระเจ้าเป็นที่เคารพสักการะ
2. ขอให้อาณาจักรของพระเจ้ามาตั้งอยู่
3. ขอให้น้ำพระทัยของพระเจ้าสำเร็จในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก
และตอนที่สอง ข้อ 4–7 เป็นคำขอสำหรับผู้อธิษฐานเอง ดังนี้
4. ขอประทานอาหารประจำวันแก่ผู้อธิษฐาน
5. ขอทรงยกโทษบาปแก่ผู้อธิษฐานซึ่งได้ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อตนแล้ว
6. ขออย่าทรงนำผู้อธิษฐานเข้าไปในการทดลอง
7. ขอให้ผู้อธิษฐานพ้นจากความชั่วร้าย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อพระคริสตธรรมคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้คือ มัทธิว 6: 8 “สิ่งไรซึ่งท่านต้องการ พระบิดาของท่านทรงทราบก่อนที่ท่านทูลขอแล้ว” ยากอบ 4: 2–3 “ที่ท่านไม่มีเพราะท่านไม่ได้ขอ ท่านขอและไม่ได้รับ เพราะท่านขอผิด หวังได้ไปเพื่อสนองราคะตัณหาของท่าน” และโรม 8: 26 “พระวิญญาณก็ทรงช่วยเราเมื่อเราอ่อนกำลังด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่งใดอย่างไร แต่พระวิญญาณเองทรงช่วยขอเพื่อเราด้วยความคร่ำครวญซึ่งเหลือที่ จะพูดได้” อาจแบ่งสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
ก. สิ่งที่พระเจ้าประทานให้โดยที่ไม่ต้องอธิษฐานขอก็ได้ (มัทธิว 6: 8)
ข. สิ่งที่พระเจ้าประทานให้เฉพาะเมื่อมีการอธิษฐานขอ (ยากอบ 4: 2)
ค. สิ่งที่พระเจ้าไม่ประทานให้แม้มีการอธิษฐานขอ (ยากอบ 4: 3)
ง. สิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงอธิษฐานขอให้ เมื่อเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่ง
ใด อย่างไร (โรม 8: 26)
และเมื่อกลับไปพิจารณาคำอธิษฐานขอในลูกา 11: 2–4 เป็นไปได้ว่าคำขอตอนแรกข้อ 1–3 ซึ่งเป็นคำขอสำหรับพระสิริน่าจะอยู่ในประเภท ก. เนื่องจากจะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วไม่ว่ามีการอธิษฐานขอหรือไม่ ส่วนคำขอตอนที่สอง ข้อ 4–7 ซึ่งเป็นคำขอสำหรับผู้อธิษฐานเองนั้น ข้อ 4 น่าจะอยู่ในประเภท ก. คือพระเจ้าจะประทานให้โดยที่ไม่ต้องอธิษฐานขอก็ได้เช่นกัน ในขณะที่ข้อ 5 น่าจะอยู่ในประเภท ข. คือ พระเจ้าประทานให้เฉพาะเมื่อมีการอธิษฐานขอเท่านั้นและยังมีเงื่อนไขว่าผู้อธิษฐานยังต้อง “ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อ” ผู้อธิษฐานเองก่อนด้วย ซึ่งเป็นสิ่งน่าสนใจที่จะกล่าวถึงต่อไปในบทที่ 5 ข้างล่างนี้ สำหรับข้อ 6 และข้อ 7 น่าจะอยู่ในประเภท ค. คือเป็นสิ่งที่พระเจ้าอาจไม่ประทานให้ตามคำอธิษฐาน เนื่องจากอย่างที่ทราบกันดีว่าในบางครั้งพระเจ้าอนุญาตให้มีการทดลองเกิดขึ้นและผู้เชื่ออาจต้องเผชิญความชั่วร้าย เพื่อการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณของผู้เชื่อคนนั้นตามที่ปรากฏในยากอบ 1: 2–4 ว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า เมื่อท่านทั้งหลายตกอยู่ในการทดลองต่างๆ ก็จงถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีทั้งสิ้นเพราะท่านทั้งหลายรู้ว่าการทดลองความเชื่อของท่านนั้น ทำให้เกิดความเพียร และจงให้ความเพียรนั้นกระทำการจนสำเร็จ เพื่อท่านทั้งหลายจะสมบูรณ์ครบถ้วนไม่ขาดสิ่งใดเลย” และตามที่ปรากฏในยอห์น 9: 3 ว่า “ ... เพื่อให้พระราชกิจของพระเจ้าปรากฏในตัวเขา” ซึ่งก็คือเพื่อการถวายเกียรติแด่พระเจ้า ส่วนประเภท ง. สิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงอธิษฐานขอให้นั้นน่าจะครอบคลุมคำอธิษฐานขอทุกข้อในลูกา 11: 2–4
ในบทต่อไปของรายงานฉบับนี้ ข้าพเจ้าเปรียบเทียบการบนบานศาลกล่าว การอธิษฐานในพุทธศาสนา และการอธิษฐานในคริสตศาสนา พร้อมทั้งกล่าวถึงสาเหตุต่างๆ ที่การอธิษฐานในคริสตศาสนาไม่ใช่การบนบานศาลกล่าวอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย
ในลูกา 11: 2–4 เมื่อสาวกขอให้พระองค์สอนเรื่องการอธิษฐาน พระเยซูตรัสดังนี้
เมื่อท่านอธิษฐานจงว่า “ข้าแต่พระบิดาของข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้สถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคารพสักการะ ขอให้อาณาจักรของพระองค์มาตั้งอยู่ น้ำพระทัยของพระองค์สำเร็จในสวรรค์อย่างไร ก็ให้สำเร็จบนแผ่นดินโลกเหมือนกันอย่างนั้น ขอทรงโปรดประทานอาหารประจำวันแก่ข้าพระองค์ทั้งหลายทุกๆ วันขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยว่าข้าพระองค์ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น ขออย่าทรงนำข้าพระองค์เข้าไปในการทดลอง แต่ขอให้ข้าพระองค์พ้นจากความชั่วร้าย”
เห็นได้ว่าคำอธิษฐานนี้ประกอบด้วยคำขอทั้งหมด 7 ข้อ แบ่งได้เป็น 2 ตอน กล่าวคือตอนแรกข้อ 1–3 เป็นคำขอสำหรับพระสิริ ดังนี้
1. ขอให้พระนามของพระเจ้าเป็นที่เคารพสักการะ
2. ขอให้อาณาจักรของพระเจ้ามาตั้งอยู่
3. ขอให้น้ำพระทัยของพระเจ้าสำเร็จในสวรรค์และบนแผ่นดินโลก
และตอนที่สอง ข้อ 4–7 เป็นคำขอสำหรับผู้อธิษฐานเอง ดังนี้
4. ขอประทานอาหารประจำวันแก่ผู้อธิษฐาน
5. ขอทรงยกโทษบาปแก่ผู้อธิษฐานซึ่งได้ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อตนแล้ว
6. ขออย่าทรงนำผู้อธิษฐานเข้าไปในการทดลอง
7. ขอให้ผู้อธิษฐานพ้นจากความชั่วร้าย
ทั้งนี้ เมื่อพิจารณาข้อพระคริสตธรรมคัมภีร์ต่างๆ เหล่านี้คือ มัทธิว 6: 8 “สิ่งไรซึ่งท่านต้องการ พระบิดาของท่านทรงทราบก่อนที่ท่านทูลขอแล้ว” ยากอบ 4: 2–3 “ที่ท่านไม่มีเพราะท่านไม่ได้ขอ ท่านขอและไม่ได้รับ เพราะท่านขอผิด หวังได้ไปเพื่อสนองราคะตัณหาของท่าน” และโรม 8: 26 “พระวิญญาณก็ทรงช่วยเราเมื่อเราอ่อนกำลังด้วยเช่นกัน เพราะเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่งใดอย่างไร แต่พระวิญญาณเองทรงช่วยขอเพื่อเราด้วยความคร่ำครวญซึ่งเหลือที่ จะพูดได้” อาจแบ่งสิ่งที่พระเจ้าประทานให้ออกได้เป็น 4 ประเภท ดังนี้
ก. สิ่งที่พระเจ้าประทานให้โดยที่ไม่ต้องอธิษฐานขอก็ได้ (มัทธิว 6: 8)
ข. สิ่งที่พระเจ้าประทานให้เฉพาะเมื่อมีการอธิษฐานขอ (ยากอบ 4: 2)
ค. สิ่งที่พระเจ้าไม่ประทานให้แม้มีการอธิษฐานขอ (ยากอบ 4: 3)
ง. สิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงอธิษฐานขอให้ เมื่อเราไม่รู้ว่าเราควรจะอธิษฐานขอสิ่ง
ใด อย่างไร (โรม 8: 26)
และเมื่อกลับไปพิจารณาคำอธิษฐานขอในลูกา 11: 2–4 เป็นไปได้ว่าคำขอตอนแรกข้อ 1–3 ซึ่งเป็นคำขอสำหรับพระสิริน่าจะอยู่ในประเภท ก. เนื่องจากจะเป็นเช่นนั้นอยู่แล้วไม่ว่ามีการอธิษฐานขอหรือไม่ ส่วนคำขอตอนที่สอง ข้อ 4–7 ซึ่งเป็นคำขอสำหรับผู้อธิษฐานเองนั้น ข้อ 4 น่าจะอยู่ในประเภท ก. คือพระเจ้าจะประทานให้โดยที่ไม่ต้องอธิษฐานขอก็ได้เช่นกัน ในขณะที่ข้อ 5 น่าจะอยู่ในประเภท ข. คือ พระเจ้าประทานให้เฉพาะเมื่อมีการอธิษฐานขอเท่านั้นและยังมีเงื่อนไขว่าผู้อธิษฐานยังต้อง “ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อ” ผู้อธิษฐานเองก่อนด้วย ซึ่งเป็นสิ่งน่าสนใจที่จะกล่าวถึงต่อไปในบทที่ 5 ข้างล่างนี้ สำหรับข้อ 6 และข้อ 7 น่าจะอยู่ในประเภท ค. คือเป็นสิ่งที่พระเจ้าอาจไม่ประทานให้ตามคำอธิษฐาน เนื่องจากอย่างที่ทราบกันดีว่าในบางครั้งพระเจ้าอนุญาตให้มีการทดลองเกิดขึ้นและผู้เชื่ออาจต้องเผชิญความชั่วร้าย เพื่อการเจริญเติบโตฝ่ายวิญญาณของผู้เชื่อคนนั้นตามที่ปรากฏในยากอบ 1: 2–4 ว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า เมื่อท่านทั้งหลายตกอยู่ในการทดลองต่างๆ ก็จงถือว่าเป็นเรื่องน่ายินดีทั้งสิ้นเพราะท่านทั้งหลายรู้ว่าการทดลองความเชื่อของท่านนั้น ทำให้เกิดความเพียร และจงให้ความเพียรนั้นกระทำการจนสำเร็จ เพื่อท่านทั้งหลายจะสมบูรณ์ครบถ้วนไม่ขาดสิ่งใดเลย” และตามที่ปรากฏในยอห์น 9: 3 ว่า “ ... เพื่อให้พระราชกิจของพระเจ้าปรากฏในตัวเขา” ซึ่งก็คือเพื่อการถวายเกียรติแด่พระเจ้า ส่วนประเภท ง. สิ่งที่พระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงอธิษฐานขอให้นั้นน่าจะครอบคลุมคำอธิษฐานขอทุกข้อในลูกา 11: 2–4
ในบทต่อไปของรายงานฉบับนี้ ข้าพเจ้าเปรียบเทียบการบนบานศาลกล่าว การอธิษฐานในพุทธศาสนา และการอธิษฐานในคริสตศาสนา พร้อมทั้งกล่าวถึงสาเหตุต่างๆ ที่การอธิษฐานในคริสตศาสนาไม่ใช่การบนบานศาลกล่าวอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย
บทอภิปราย
Alex G. Smith แสดงข้อคิดเห็นว่าอุปสรรคหนึ่งในการประกาศข่าวประเสริฐของ พระเยซูคริสต์ในประเทศไทยคือการที่คนไทยส่วนใหญ่ถึง 94 % ยึดมั่นในพุทธศาสนา ซึ่งส่งผลให้วัฒนธรรมไทยเกี่ยวพันกับพุทธศาสนาแบบที่แยกกันแทบไม่ได้ ภาษาไทยเต็มไปด้วยคำศัพท์ที่มาจากพุทธศาสนา อาทิ เมตตา กรุณา และการคิดของคนไทยก็มักมีพื้นฐานมาจากแนวคิดในพุทธศาสนาเหล่านี้จนถึงขนาดพูดกันว่าถ้าเป็นคนไทยก็ต้องนับถือศาสนาพุทธ Eunice Burden กล่าวเช่นกันว่าคติของพุทธศาสนาที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” ทำให้เป็นเรื่องยากที่คนไทยจะต้องการพึ่งพาพระเจ้า
อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาว่าการบนบานศาลกล่าวและการแก้บนอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ทั้งๆ ที่อย่างที่กล่าวแล้วในบทที่ 2 ว่าการบนบานศาลกล่าวไม่ใช่หลักทางพุทธศาสนา และการบนบานศาลกล่าวยังอาจนับเป็นการแสดงออกซึ่งตรงข้ามกับคติของพุทธศาสนาที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” น่าจะกล่าวได้ว่าอุปสรรคหนึ่งของคริสตศาสนาในประเทศไทยอาจไม่ใช่พุทธศาสนาแต่เป็นสิ่งที่คนไทยคิดกันไปว่าเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรถือปฏิบัติ และบางสิ่งในบรรดาสิ่งเหล่านี้อาจยังมามีผลกับคริสตชนชาวไทยบางคนอีกด้วย อย่างเช่นเรื่องที่ข้าพเจ้าเล่าถึงในบทนำ คือการปฏิบัติราวกับว่าการอธิษฐานกับพระเจ้าเป็นการบนบานศาลกล่าวและต้องแก้บนเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน
สิ่งที่จะเขียนต่อไปในบทนี้เป็นการเปรียบเทียบการบนบานศาลกล่าว การอธิษฐานในพุทธศาสนา และการอธิษฐานในคริสตศาสนา ในแง่ต่างๆ คือ สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่บนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐานด้วย วิธีและเวลาในการบนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐาน เรื่องที่บนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐาน โอกาสได้รับตามคำบนบานศาลกล่าวหรือคำอธิษฐาน และสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อคำบนบานศาลกล่าวหรือคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล พร้อมทั้งกล่าวถึงสาเหตุต่างๆ ที่การอธิษฐานในคริสตศาสนาไม่ใช่การบนบานศาลกล่าวอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย
4.1 สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เกี่ยวข้อง
การบนบานศาลกล่าวนั้น จากตารางที่ 1 ในหน้า 3 จะเห็นว่าทำได้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลายรูปแบบ ตั้งแต่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ วิญญาณต่างๆ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงพระพุทธรูปแม้ว่ามีผู้กล่าวว่าการบนบานศาลกล่าวไม่ใช่หลักทางพุทธศาสนา ก็ตาม
การอธิษฐานในพุทธศาสนา ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นการอธิษฐานกับสิ่งใด แต่เน้นการมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคงในขณะอธิษฐาน ซึ่งถือเป็นมโนกรรม คือ กรรมที่ทำสำเร็จด้วยใจคิดดี และเมื่อคิดดี คนจะพูดดีและทำดีตามไปด้วย สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมาในชีวิต
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนาเป็นการอธิษฐานกับพระเจ้าในนามพระเยซูคริสต์ ดังที่พระเยซูตรัสไว้ว่า “ถ้าท่านจะขอสิ่งใดจากพระบิดาในนามของเรา พระองค์จะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่ท่าน” (ยอห์น 16: 23)
4.2 วิธี สถานที่และเวลา
การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในตารางที่ 1 หน้า 3 นั้น มีการกล่าวไว้ชัดเจนว่าต้องใช้สิ่งใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นธูป เทียน จำนวนและสีตามที่ระบุ พวงมาลัยดอกไม้ชนิดต่างๆ ผ้าแพร หรือเงินถวายค่าน้ำมันตะเกียง สถานที่น่าจะเป็นที่ๆ สิ่งศักดิ์สิทธ์เหล่านั้นประดิษฐสถานอยู่ ส่วนเวลาไม่ได้ระบุไว้ยกเว้นสำหรับพระตรีมูรติ ซึ่งเป็นในช่วง 09.30–21.30 น. สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ น่าจะเป็นเวลาซึ่งสถานที่เหล่านั้นเปิดให้คนเข้าไปสักการะได้
การอธิษฐานในพุทธศาสนา ดังที่กล่าวแล้วว่าอโณทัย เขตต์บรรพต ได้ให้แนวทางการอธิษฐานไว้คือ ตั้งใจเป็นสมาธิหรือมีสติแล้วอธิษฐานว่า “ด้วยบุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้เคยทำมาแล้วในอดีต กำลังทำในปัจจุบัน และที่จะทำต่อไปในอนาคตขอให้เป็นพลว (อ่านว่า พะ-ละ-วะ) ปัจจัยให้ ... (ให้กล่าวเรื่องที่ต้องการขอ)” โดยไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ทำ ณ สถานที่ใด แต่ระบุว่าทำได้เมื่อมีความจำเป็นในเวลาวิกฤตเท่านั้น
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น พระเยซูสอนว่า “คนทั้งหลายควรอธิษฐานอยู่เสมอ” (ลูกา 18: 1) และเปาโลกล่าวไว้ใน 1 ทิโมธี 2: 8 ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาให้ผู้ชายทั้งหลายอธิษฐานในที่ทุกแห่ง” แต่พระคริสตธรรมคัมภีร์ไม่ได้ระบุถึงวิธีหนึ่งวิธีใดอย่างเฉพาะเจาะจง แต่เรื่องสำคัญคือจิตใจ ซึ่งน่าจะมีท่าทีของการวิงวอนและการขอบพระคุณ (ดูฟิลิปปี 4: 6)
4.3 เรื่องที่ขอ
การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เป็นการขออะไรก็ได้ เรื่องใดก็ได้ทั้งดีและไม่ดี และจากตารางที่ 1 ในหน้า 3 มีการกล่าวไว้ชัดเจนว่าต้องบนบานศาลกล่าวเรื่องใดกับสิ่งศักดิ์สิทธ์องค์ไหน เห็นได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละองค์เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ แตกต่างกัน การอธิษฐานในพุทธศาสนา อโณทัย เขตต์บรรพต กล่าวไว้ว่าต้องเป็นการขอในเรื่องที่ดีในเวลาจำเป็นเท่านั้น ซึ่งเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ดีตามหลักพุทธศาสนา
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น เปาโลกล่าวไว้ในฟิลิปปี 4: 6 ว่า “จงทูลเรื่องความปรารถนาของท่านทุกอย่างต่อพระเจ้า” ไม่ได้จำกัดว่าเฉพาะเรื่องการเรียน การงาน ความรักเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้นเหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในตารางที่ 1 หน้า 3 จะเห็นได้ว่าพระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานได้ในทุกๆ เรื่อง และในฐานะคริสเตียน เรารู้ว่าควรอธิษฐานขอในสิ่งที่สอดคล้องกับพระคริสตธรรมคัมภีร์เท่านั้น
4.4 โอกาสได้รับตามคำขอ
การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ 2 ว่ามีโอกาสได้ตามคำบนบานศาลกล่าวเพียง “ไม่กี่เปอร์เซ็นต์” สำหรับโอกาสที่จะได้รับตามคำอธิษฐานในพุทธศาสนา อโณทัย เขตต์บรรพต ระบุว่า “มากเนื่องจากมีบุญกุศลที่ทำมาแล้วเป็นปัจจัยเกื้อหนุน”
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น เมื่อพิจารณาจากมัธทิว 7: 8–11:
... ทุกคนที่ขอก็ได้รับ คนที่แสวงหาก็พบ และคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา ในพวกท่านมีใครบ้างที่จะเอาก้อนหินให้บุตร เมื่อเขาขอขนมปังหรือให้งูเมื่อบุตรขอปลา เหตุฉะนั้น ถ้าท่านทั้งหลายเองผู้เป็นคนชั่วยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะประทานของดีแก่ผู้ที่ขอจากพระองค์
และยากอบ 4: 2–3 ที่ว่า “ที่ท่านไม่มีเพราะท่านไม่ได้ขอ ท่านขอและไม่ได้รับ เพราะท่านขอผิด หวังได้ไปเพื่อสนองราคะตัณหาของท่าน” จะเห็นว่ามีโอกาสที่จะได้รับตามคำอธิษฐาน 100 % ทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งที่ขอเป็น “ของดี” (มัธทิว 7: 11) แต่ถ้าขอ “เพื่อสนองราคะตัณหา” (ยากอบ 4: 3) ก็จะไม่ได้
4.5 สิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อคำขอสัมฤทธิ์ผล
เมื่อบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แล้วได้ตามคำขอต้องแก้บน จากตารางที่ 1 ในหน้า 3 มีการกล่าวไว้ชัดเจนว่าต้องแก้บนอย่างไรกับสิ่งศักดิ์สิทธ์องค์ไหน เห็นได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละองค์ชอบของแก้บนต่างๆ แตกต่างกันไป สำหรับการอธิษฐานในพุทธศาสนา เมื่อได้ตามคำอธิษฐานแล้ว ไม่ต้องชดใช้ เนื่องจากถือว่าที่ได้มาเพราะบุญกุศลเดิม
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น เมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน ไม่ต้องชดใช้เช่นกัน แต่ไม่ใช่เนื่องจากถือว่าที่ได้มาเพราะบุญกุศลเดิม เพราะจริงๆ แล้วเดิมมนุษย์เป็นคนบาปไม่มีบุญกุศล แต่เนื่องจากพระเจ้าไม่ใช่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ซึ่งหวังสิ่งตอบแทน แต่ทรงเป็น “พระเจ้าแห่งความรัก” (2 โครินธ์ 13: 11) สิ่งที่คริสเตียนต้องถือปฏิบัติเมื่อคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลจึงไม่ใช่การแก้บน แท้จริงแล้วเมื่ออธิษฐานขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ควรต่อรองหรือสัญญาว่าจะทำอะไรเป็นการตอบแทนเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน สิ่งนี้ไม่ปรากฏในคำอธิษฐานที่พระเยซูทรงสอนสาวก (ลูกา 11: 2–4) พระองค์ทรงสอนให้สาวกเพียงแต่อธิษฐานขอสิ่งต่างๆ เพื่อพระสิริและสำหรับผู้อธิษฐานเอง อย่างเช่นที่มัทธิว 7: 7 กล่าวว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน” และสิ่งที่คริสเตียนต้องถือปฏิบัติเมื่อคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลน่าจะเป็นการขอบพระคุณ ซึ่งทำได้ก่อนที่คำอธิษฐานจะสัมฤทธิ์ผลด้วยซ้ำ หากมั่นใจจว่าท่าทีในการขอถูกต้องและสิ่งที่ขอเป็นสิ่งดีที่พระเจ้าจะประทานให้อย่างแน่นอน
อย่างไรก็ตามถ้าพิจารณาว่าการบนบานศาลกล่าวและการแก้บนอยู่คู่สังคมไทยมาช้านาน ทั้งๆ ที่อย่างที่กล่าวแล้วในบทที่ 2 ว่าการบนบานศาลกล่าวไม่ใช่หลักทางพุทธศาสนา และการบนบานศาลกล่าวยังอาจนับเป็นการแสดงออกซึ่งตรงข้ามกับคติของพุทธศาสนาที่ว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” น่าจะกล่าวได้ว่าอุปสรรคหนึ่งของคริสตศาสนาในประเทศไทยอาจไม่ใช่พุทธศาสนาแต่เป็นสิ่งที่คนไทยคิดกันไปว่าเป็นสิ่งที่ชาวพุทธควรถือปฏิบัติ และบางสิ่งในบรรดาสิ่งเหล่านี้อาจยังมามีผลกับคริสตชนชาวไทยบางคนอีกด้วย อย่างเช่นเรื่องที่ข้าพเจ้าเล่าถึงในบทนำ คือการปฏิบัติราวกับว่าการอธิษฐานกับพระเจ้าเป็นการบนบานศาลกล่าวและต้องแก้บนเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน
สิ่งที่จะเขียนต่อไปในบทนี้เป็นการเปรียบเทียบการบนบานศาลกล่าว การอธิษฐานในพุทธศาสนา และการอธิษฐานในคริสตศาสนา ในแง่ต่างๆ คือ สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่บนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐานด้วย วิธีและเวลาในการบนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐาน เรื่องที่บนบานศาลกล่าวหรืออธิษฐาน โอกาสได้รับตามคำบนบานศาลกล่าวหรือคำอธิษฐาน และสิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อคำบนบานศาลกล่าวหรือคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผล พร้อมทั้งกล่าวถึงสาเหตุต่างๆ ที่การอธิษฐานในคริสตศาสนาไม่ใช่การบนบานศาลกล่าวอย่างที่ปฏิบัติกันอยู่ในสังคมไทย
4.1 สิ่งศักดิ์สิทธ์ที่เกี่ยวข้อง
การบนบานศาลกล่าวนั้น จากตารางที่ 1 ในหน้า 3 จะเห็นว่าทำได้กับสิ่งศักดิ์สิทธิ์หลายรูปแบบ ตั้งแต่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ วิญญาณต่างๆ สถานที่ศักดิ์สิทธิ์ไปจนถึงพระพุทธรูปแม้ว่ามีผู้กล่าวว่าการบนบานศาลกล่าวไม่ใช่หลักทางพุทธศาสนา ก็ตาม
การอธิษฐานในพุทธศาสนา ไม่ปรากฏชัดว่าเป็นการอธิษฐานกับสิ่งใด แต่เน้นการมีจิตใจที่แน่วแน่มั่นคงในขณะอธิษฐาน ซึ่งถือเป็นมโนกรรม คือ กรรมที่ทำสำเร็จด้วยใจคิดดี และเมื่อคิดดี คนจะพูดดีและทำดีตามไปด้วย สิ่งดีๆ ก็จะเกิดขึ้นตามมาในชีวิต
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนาเป็นการอธิษฐานกับพระเจ้าในนามพระเยซูคริสต์ ดังที่พระเยซูตรัสไว้ว่า “ถ้าท่านจะขอสิ่งใดจากพระบิดาในนามของเรา พระองค์จะทรงประทานสิ่งนั้นให้แก่ท่าน” (ยอห์น 16: 23)
4.2 วิธี สถานที่และเวลา
การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในตารางที่ 1 หน้า 3 นั้น มีการกล่าวไว้ชัดเจนว่าต้องใช้สิ่งใดบ้าง ไม่ว่าจะเป็นธูป เทียน จำนวนและสีตามที่ระบุ พวงมาลัยดอกไม้ชนิดต่างๆ ผ้าแพร หรือเงินถวายค่าน้ำมันตะเกียง สถานที่น่าจะเป็นที่ๆ สิ่งศักดิ์สิทธ์เหล่านั้นประดิษฐสถานอยู่ ส่วนเวลาไม่ได้ระบุไว้ยกเว้นสำหรับพระตรีมูรติ ซึ่งเป็นในช่วง 09.30–21.30 น. สำหรับสิ่งศักดิ์สิทธิ์อื่นๆ น่าจะเป็นเวลาซึ่งสถานที่เหล่านั้นเปิดให้คนเข้าไปสักการะได้
การอธิษฐานในพุทธศาสนา ดังที่กล่าวแล้วว่าอโณทัย เขตต์บรรพต ได้ให้แนวทางการอธิษฐานไว้คือ ตั้งใจเป็นสมาธิหรือมีสติแล้วอธิษฐานว่า “ด้วยบุญกุศลทั้งหลายทั้งปวงที่ข้าพเจ้าได้เคยทำมาแล้วในอดีต กำลังทำในปัจจุบัน และที่จะทำต่อไปในอนาคตขอให้เป็นพลว (อ่านว่า พะ-ละ-วะ) ปัจจัยให้ ... (ให้กล่าวเรื่องที่ต้องการขอ)” โดยไม่ได้ระบุไว้ว่าให้ทำ ณ สถานที่ใด แต่ระบุว่าทำได้เมื่อมีความจำเป็นในเวลาวิกฤตเท่านั้น
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น พระเยซูสอนว่า “คนทั้งหลายควรอธิษฐานอยู่เสมอ” (ลูกา 18: 1) และเปาโลกล่าวไว้ใน 1 ทิโมธี 2: 8 ว่า “ข้าพเจ้าปรารถนาให้ผู้ชายทั้งหลายอธิษฐานในที่ทุกแห่ง” แต่พระคริสตธรรมคัมภีร์ไม่ได้ระบุถึงวิธีหนึ่งวิธีใดอย่างเฉพาะเจาะจง แต่เรื่องสำคัญคือจิตใจ ซึ่งน่าจะมีท่าทีของการวิงวอนและการขอบพระคุณ (ดูฟิลิปปี 4: 6)
4.3 เรื่องที่ขอ
การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เป็นการขออะไรก็ได้ เรื่องใดก็ได้ทั้งดีและไม่ดี และจากตารางที่ 1 ในหน้า 3 มีการกล่าวไว้ชัดเจนว่าต้องบนบานศาลกล่าวเรื่องใดกับสิ่งศักดิ์สิทธ์องค์ไหน เห็นได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละองค์เชี่ยวชาญในเรื่องต่างๆ แตกต่างกัน การอธิษฐานในพุทธศาสนา อโณทัย เขตต์บรรพต กล่าวไว้ว่าต้องเป็นการขอในเรื่องที่ดีในเวลาจำเป็นเท่านั้น ซึ่งเข้าใจได้ว่าน่าจะเป็นเรื่องที่ดีตามหลักพุทธศาสนา
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น เปาโลกล่าวไว้ในฟิลิปปี 4: 6 ว่า “จงทูลเรื่องความปรารถนาของท่านทุกอย่างต่อพระเจ้า” ไม่ได้จำกัดว่าเฉพาะเรื่องการเรียน การงาน ความรักเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้นเหมือนกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ในตารางที่ 1 หน้า 3 จะเห็นได้ว่าพระเจ้าทรงตอบคำอธิษฐานได้ในทุกๆ เรื่อง และในฐานะคริสเตียน เรารู้ว่าควรอธิษฐานขอในสิ่งที่สอดคล้องกับพระคริสตธรรมคัมภีร์เท่านั้น
4.4 โอกาสได้รับตามคำขอ
การบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ นั้น ดังที่ได้กล่าวแล้วในบทที่ 2 ว่ามีโอกาสได้ตามคำบนบานศาลกล่าวเพียง “ไม่กี่เปอร์เซ็นต์” สำหรับโอกาสที่จะได้รับตามคำอธิษฐานในพุทธศาสนา อโณทัย เขตต์บรรพต ระบุว่า “มากเนื่องจากมีบุญกุศลที่ทำมาแล้วเป็นปัจจัยเกื้อหนุน”
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น เมื่อพิจารณาจากมัธทิว 7: 8–11:
... ทุกคนที่ขอก็ได้รับ คนที่แสวงหาก็พบ และคนที่เคาะก็จะเปิดให้เขา ในพวกท่านมีใครบ้างที่จะเอาก้อนหินให้บุตร เมื่อเขาขอขนมปังหรือให้งูเมื่อบุตรขอปลา เหตุฉะนั้น ถ้าท่านทั้งหลายเองผู้เป็นคนชั่วยังรู้จักให้ของดีแก่บุตรของตน ยิ่งกว่านั้นสักเท่าใดพระบิดาของท่านผู้ทรงสถิตในสวรรค์จะประทานของดีแก่ผู้ที่ขอจากพระองค์
และยากอบ 4: 2–3 ที่ว่า “ที่ท่านไม่มีเพราะท่านไม่ได้ขอ ท่านขอและไม่ได้รับ เพราะท่านขอผิด หวังได้ไปเพื่อสนองราคะตัณหาของท่าน” จะเห็นว่ามีโอกาสที่จะได้รับตามคำอธิษฐาน 100 % ทีเดียว โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าสิ่งที่ขอเป็น “ของดี” (มัธทิว 7: 11) แต่ถ้าขอ “เพื่อสนองราคะตัณหา” (ยากอบ 4: 3) ก็จะไม่ได้
4.5 สิ่งที่ต้องปฏิบัติเมื่อคำขอสัมฤทธิ์ผล
เมื่อบนบานศาลกล่าวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ แล้วได้ตามคำขอต้องแก้บน จากตารางที่ 1 ในหน้า 3 มีการกล่าวไว้ชัดเจนว่าต้องแก้บนอย่างไรกับสิ่งศักดิ์สิทธ์องค์ไหน เห็นได้ว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์แต่ละองค์ชอบของแก้บนต่างๆ แตกต่างกันไป สำหรับการอธิษฐานในพุทธศาสนา เมื่อได้ตามคำอธิษฐานแล้ว ไม่ต้องชดใช้ เนื่องจากถือว่าที่ได้มาเพราะบุญกุศลเดิม
ส่วนการอธิษฐานในคริสตศาสนานั้น เมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน ไม่ต้องชดใช้เช่นกัน แต่ไม่ใช่เนื่องจากถือว่าที่ได้มาเพราะบุญกุศลเดิม เพราะจริงๆ แล้วเดิมมนุษย์เป็นคนบาปไม่มีบุญกุศล แต่เนื่องจากพระเจ้าไม่ใช่เจ้าพ่อ เจ้าแม่ซึ่งหวังสิ่งตอบแทน แต่ทรงเป็น “พระเจ้าแห่งความรัก” (2 โครินธ์ 13: 11) สิ่งที่คริสเตียนต้องถือปฏิบัติเมื่อคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลจึงไม่ใช่การแก้บน แท้จริงแล้วเมื่ออธิษฐานขอสิ่งหนึ่งสิ่งใด ไม่ควรต่อรองหรือสัญญาว่าจะทำอะไรเป็นการตอบแทนเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน สิ่งนี้ไม่ปรากฏในคำอธิษฐานที่พระเยซูทรงสอนสาวก (ลูกา 11: 2–4) พระองค์ทรงสอนให้สาวกเพียงแต่อธิษฐานขอสิ่งต่างๆ เพื่อพระสิริและสำหรับผู้อธิษฐานเอง อย่างเช่นที่มัทธิว 7: 7 กล่าวว่า “จงขอแล้วจะได้ จงหาแล้วจะพบ จงเคาะแล้วจะเปิดให้แก่ท่าน” และสิ่งที่คริสเตียนต้องถือปฏิบัติเมื่อคำอธิษฐานสัมฤทธิ์ผลน่าจะเป็นการขอบพระคุณ ซึ่งทำได้ก่อนที่คำอธิษฐานจะสัมฤทธิ์ผลด้วยซ้ำ หากมั่นใจจว่าท่าทีในการขอถูกต้องและสิ่งที่ขอเป็นสิ่งดีที่พระเจ้าจะประทานให้อย่างแน่นอน
บทสรุป
การเปรียบเทียบในด้านต่างๆ ระหว่างการบนบานศาลกล่าว การอธิษฐานในพุทธศาสนา และการอธิษฐานในคริสตศาสนาในบทที่ 4 น่าจะแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่าการอธิษฐานกับพระเจ้าในนามพระเยซูคริสต์นั้นไม่ใช่การบนบานศาลกล่าว และเมื่อพระเจ้าตอบคำอธิษฐาน จึงไม่ต้องมีการแก้บน มีข้อสังเกตว่าคำอธิษฐานในลูกา 11: 4 ที่ว่า “ขอทรงโปรดยกบาปผิดของข้าพระองค์ทั้งหลาย ด้วยว่าข้าพระองค์ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อข้าพระองค์นั้น ...” ดูจะมีเงื่อนไขว่าผู้อธิษฐานต้อง “ยกความผิดของทุกคนที่ทำผิดต่อ” ผู้อธิษฐานเองก่อนจึงจะได้รับตามคำอธิษฐานนี้ เนื่องจากผู้อธิษฐานระบุไว้ชัดเจนเลยว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ตนทำแล้ว สิ่งสำคัญคือเงื่อนไขนี้จะต้องมีการปฏิบัติก่อนที่พระเจ้าจะตอบคำอธิษฐาน ซึ่งตรงข้ามกับการแก้บนซึ่งเกิดขึ้นหลังจากที่สิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ ได้ “ให้” ตามคำบนบานศาลกล่าวแล้ว
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอว่าเมื่อจะประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์กับคนไทยพุทธนั้น เราอาจถามเขาว่าเคยบนบานศาลกล่าวไหม ต้องแก้บนอย่างไรบ้าง และถือว่าสิ่งนี้แสดงว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” หรือไม่ แล้วจึงเล่าต่อไปว่าการพึ่งพาพระเจ้า ผู้ประทานสิ่งต่างๆ ให้เรามาตลอดทำได้โดยที่เราไม่ต้องบนบานศาลกล่าว และสิ่งสำคัญที่สุดที่พระเจ้าทรงพร้อมจะประทานคือความรอดจากความพินาศในนรกบึงไฟ เราไม่ต้องบนบานศาลกล่าวเพื่อสิ่งนี้ เพียงแต่ต้อนรับพระเยซูคริสต์เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิตของเราเท่านั้น
สุดท้ายนี้ ข้าพเจ้าขอเสนอว่าเมื่อจะประกาศข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์กับคนไทยพุทธนั้น เราอาจถามเขาว่าเคยบนบานศาลกล่าวไหม ต้องแก้บนอย่างไรบ้าง และถือว่าสิ่งนี้แสดงว่า “ตนเป็นที่พึ่งแห่งตน” หรือไม่ แล้วจึงเล่าต่อไปว่าการพึ่งพาพระเจ้า ผู้ประทานสิ่งต่างๆ ให้เรามาตลอดทำได้โดยที่เราไม่ต้องบนบานศาลกล่าว และสิ่งสำคัญที่สุดที่พระเจ้าทรงพร้อมจะประทานคือความรอดจากความพินาศในนรกบึงไฟ เราไม่ต้องบนบานศาลกล่าวเพื่อสิ่งนี้ เพียงแต่ต้อนรับพระเยซูคริสต์เข้ามาเป็นพระผู้ช่วยให้รอดในชีวิตของเราเท่านั้น
บรรณานุกรม
ภาษาไทย
“การบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการแก้บน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://napak.igetweb.com/index.php?mo=3&art=143750 2008.
ชุมแสง เรืองเจริญสุข และวรรณภา เรืองเจริญสุข, ผู้แปล. ศาสนศาสตร์ระบบ. กรุงเทพฯ:
กนกบรรณสาร, 2538.
เสฐียรโกเศศ. เมืองสวรรค์ และผีสาง เทวดา. พระนคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2515.
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. ว่าที่ผู้ว่า กทม. “บน...อะไร ที่ไหน อย่างไร”. วันอังคารที่ 26 สิงหาคม
พ.ศ. 2551.
อโณทัย เขตต์บรรพต. สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตามตะวัน, 2548.
After-Post-Modern. เดอะซีเคร็ตในพุทธธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=200049
ภาษาอังกฤษ
Ashcroft, J. Robert. When You Pray. Springfield, Missouri: Global University, 1995.
Burden, Eunice. An Investigation of the Obstacles and Difficulties Encountered by Thais
Which Hinder Them in Becoming Christians. Ministry Research Project, In-Ministry Master of Religious Education, Asia Baptist Theological Seminary of Cornerstone University, 2005.
Smith, Alex G. Siamese Gold: The Church in Thailand. Bangkok: Kanok Bannasan, 1982.
“การบนบานต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์และการแก้บน.” [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://napak.igetweb.com/index.php?mo=3&art=143750 2008.
ชุมแสง เรืองเจริญสุข และวรรณภา เรืองเจริญสุข, ผู้แปล. ศาสนศาสตร์ระบบ. กรุงเทพฯ:
กนกบรรณสาร, 2538.
เสฐียรโกเศศ. เมืองสวรรค์ และผีสาง เทวดา. พระนคร: สำนักพิมพ์บรรณาคาร, 2515.
หนังสือพิมพ์คมชัดลึก. ว่าที่ผู้ว่า กทม. “บน...อะไร ที่ไหน อย่างไร”. วันอังคารที่ 26 สิงหาคม
พ.ศ. 2551.
อโณทัย เขตต์บรรพต. สิ่งที่ชาวพุทธควรรู้ 1. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ตามตะวัน, 2548.
After-Post-Modern. เดอะซีเคร็ตในพุทธธรรม. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก
http://www.oknation.net/blog/print.php?id=200049
ภาษาอังกฤษ
Ashcroft, J. Robert. When You Pray. Springfield, Missouri: Global University, 1995.
Burden, Eunice. An Investigation of the Obstacles and Difficulties Encountered by Thais
Which Hinder Them in Becoming Christians. Ministry Research Project, In-Ministry Master of Religious Education, Asia Baptist Theological Seminary of Cornerstone University, 2005.
Smith, Alex G. Siamese Gold: The Church in Thailand. Bangkok: Kanok Bannasan, 1982.
Monday, June 15, 2009
We were created in his image
Remember, those Christians who peeve you so much—God chose them too. For some reason, I find it much easier to show grace and acceptance toward immoral unbelievers than toward uptight, judgmental Christians. Which, of course, turns me into a different kind of uptight, judgmental Christian.
A Believer’s To-Be List: Steps to a fresh start with God by Philip Yancey http://www.christianitytoday.com/
Towards the end of class last Tuesday, we were focusing on how to treat non-believers, bearing in mind that they had and were God’s image too. I couldn’t help but remembering this quotation, which I had come across quite some time ago and couldn’t have agreed more. In my experience, it’s been much more difficult to deal with those believers who claim to have faith but don’t seem to have deeds (James 2: 14). When I was first back, with Christian ideals freshly baked from England, I found a few people at my first Thai church simply not so very loving. Believing that part of love was speaking the truth, I confronted them, surely along the line of Ephesians 4: 15 (speaking the truth in love). But I was then told to finish reading the Bible before I started to go about criticizing long-time believers. That was when I learned that Thai Christians were still Thai, and of course Thai people tend to find it hard to accept criticism, however constructive. Later on in my journey with Christ at other churches, I’ve run into long-time Thai believers who seem to be fond of causing what they call ‘new believers’ like myself to stumble (1 Corinthians 10: 32) and who will say to me, “If your love [for your neighbors] was true, you would have to be able to endure this.” Such a nasty version of 1 John 2: 10 –“Whoever loves his brother lives in the light, and there is nothing in him to make him stumble”! Apart from the quotation above, I’ve been given a lesson on how to handle those Christian leaders who can’t seem to practice what they preach in Romans 12: 3 – “For by the grace given me I say to every one of you: Do not think of yourself more highly than you ought, but rather think of yourself with sober judgment, in accordance with the measure of faith God has given you.”
A Believer’s To-Be List: Steps to a fresh start with God by Philip Yancey http://www.christianitytoday.com/
Towards the end of class last Tuesday, we were focusing on how to treat non-believers, bearing in mind that they had and were God’s image too. I couldn’t help but remembering this quotation, which I had come across quite some time ago and couldn’t have agreed more. In my experience, it’s been much more difficult to deal with those believers who claim to have faith but don’t seem to have deeds (James 2: 14). When I was first back, with Christian ideals freshly baked from England, I found a few people at my first Thai church simply not so very loving. Believing that part of love was speaking the truth, I confronted them, surely along the line of Ephesians 4: 15 (speaking the truth in love). But I was then told to finish reading the Bible before I started to go about criticizing long-time believers. That was when I learned that Thai Christians were still Thai, and of course Thai people tend to find it hard to accept criticism, however constructive. Later on in my journey with Christ at other churches, I’ve run into long-time Thai believers who seem to be fond of causing what they call ‘new believers’ like myself to stumble (1 Corinthians 10: 32) and who will say to me, “If your love [for your neighbors] was true, you would have to be able to endure this.” Such a nasty version of 1 John 2: 10 –“Whoever loves his brother lives in the light, and there is nothing in him to make him stumble”! Apart from the quotation above, I’ve been given a lesson on how to handle those Christian leaders who can’t seem to practice what they preach in Romans 12: 3 – “For by the grace given me I say to every one of you: Do not think of yourself more highly than you ought, but rather think of yourself with sober judgment, in accordance with the measure of faith God has given you.”
Saturday, June 13, 2009
Lost or Found?
เพราะว่าบุตรมนุษย์ได้มาเพื่อจะแสวงหาและช่วยผู้ที่หลงหายไปนั้นให้รอด (ลูกา 19: 10)
เมื่อความบาปมี 3 ด้านคือ
1. สถานะความเป็นคนบาปที่ทุกคนมีเนื่องจากเป็นลูกหลานของอาดัม
2. สภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาป และ
3. การกระทำที่เป็นบาป
จึงไม่น่าแปลกใจที่ความรอดก็มี 3 ด้านเช่นกัน นั่นคือ
1. สถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้
2. สภาพนิสัยใหม่ที่เกิดจากการถูกเปลี่ยนแปลงภายในจากมืดเป็นสว่าง และ
3. การกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่ที่เกิดจากกระบวนการถูกชำระให้บริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าคิดว่าในขณะที่สถานะความเป็นคนบาปทำให้เรามีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอย่างชัดเจน ดูเหมือนว่าสถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ผู้เชื่อทุกคนตามที่กล่าวไว้ในโรม 6: 18 ว่า “เมื่อท่านพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็ได้กลายเป็นทาสของความชอบธรรม” นั้น ไม่ได้นำไปสู่สภาพนิสัยใหม่และการกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่อย่างชัดเจนในลักษณะเดียวกัน ผู้เชื่อซึ่งมีสถานะเป็นคนชอบธรรมดูจะยังคงมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอยู่นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรทำอย่างไร
หากพิจารณายากอบ 2: 14 และ 24 ที่ว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า แม้ผู้ใดจะว่าตนมีความเชื่อ แต่ไม่มีการกระทำ จะได้ประโยชน์อะไร ความเชื่อจะช่วยผู้นั้นให้รอดได้หรือ” และ “ผู้ใดจะเป็นคนชอบธรรมได้ก็เนื่องด้วยการกระทำและมิใช่ด้วยความเชื่อเพียงอย่างเดียว” เราต้องตระหนักว่าสิ่งที่พระคัมภีร์ต้องการเสนอไม่ใช่ว่าความรอดมาจากการกระทำของเรา แต่เป็นว่าถ้ามีความเชื่อจริง การกระทำต้องแสดงถึงความรอดนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าไม่ใช่ว่าเราทำดีเพื่อรอดแต่เรารอดเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวไว้ในทิตัส 3: 5–8 ว่า “พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่ และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์นั้นได้ทรงประทานแก่เราทั้งหลายอย่างบริบูรณ์ โดยพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเราเพื่อว่าเมื่อเราได้เป็นคนชอบธรรมแล้วโดยพระคุณของพระองค์ เราจะได้เป็นผู้ได้รับมรดกที่มุ่งหวังคือชีวิตนิรันดร์คำนี้เป็นคำสัตย์จริง ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านเน้นเรื่องเหล่านี้ เพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระเจ้าแล้วจะได้อุตส่าห์กระทำการดี การเหล่านี้ดีและเป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง” ฉะนั้นผู้ที่กล่าวว่าตนเองเชื่อในพระเจ้าจึงควร “อุตส่าห์กระทำการดี” (ทิตัส 3: 8) เมื่อพระเจ้าประทานความรอดให้แล้ว ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเป็นผู้เชื่อต้อง “อย่าเอาเสรีภาพของท่านเป็นช่องทางที่จะปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) ทั้งนี้เพื่อดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ เมื่อพิจารณาที่พระเยซูตรัสว่า “ถ้าแยกจากเราแล้วท่านจะทำสิ่งใดไม่ได้เลย” (ยอห์น 15: 5) และที่เปาโลกล่าว “ข้าพเจ้ากระทำทุกสิ่งได้โดยพระคริสต์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4: 13) จะเห็นว่าการดำเนินชีวิตใหม่ตามสภาพนิสัยใหม่และสถานะของความเป็นคนชอบธรรมนั้นเป็นไปได้ก็ด้วยการพึ่งพาพระเจ้า ถ้าผู้เชื่อยังคง “ปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) หรือยังมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปอยู่ จึงควรอธิษฐานขอให้พระเจ้าทรงสอนให้เราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาพระเจ้ามากขึ้นเพื่อที่จะดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมของเรา
เมื่อความบาปมี 3 ด้านคือ
1. สถานะความเป็นคนบาปที่ทุกคนมีเนื่องจากเป็นลูกหลานของอาดัม
2. สภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาป และ
3. การกระทำที่เป็นบาป
จึงไม่น่าแปลกใจที่ความรอดก็มี 3 ด้านเช่นกัน นั่นคือ
1. สถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้
2. สภาพนิสัยใหม่ที่เกิดจากการถูกเปลี่ยนแปลงภายในจากมืดเป็นสว่าง และ
3. การกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่ที่เกิดจากกระบวนการถูกชำระให้บริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าคิดว่าในขณะที่สถานะความเป็นคนบาปทำให้เรามีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอย่างชัดเจน ดูเหมือนว่าสถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ผู้เชื่อทุกคนตามที่กล่าวไว้ในโรม 6: 18 ว่า “เมื่อท่านพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็ได้กลายเป็นทาสของความชอบธรรม” นั้น ไม่ได้นำไปสู่สภาพนิสัยใหม่และการกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่อย่างชัดเจนในลักษณะเดียวกัน ผู้เชื่อซึ่งมีสถานะเป็นคนชอบธรรมดูจะยังคงมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอยู่นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรทำอย่างไร
หากพิจารณายากอบ 2: 14 และ 24 ที่ว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า แม้ผู้ใดจะว่าตนมีความเชื่อ แต่ไม่มีการกระทำ จะได้ประโยชน์อะไร ความเชื่อจะช่วยผู้นั้นให้รอดได้หรือ” และ “ผู้ใดจะเป็นคนชอบธรรมได้ก็เนื่องด้วยการกระทำและมิใช่ด้วยความเชื่อเพียงอย่างเดียว” เราต้องตระหนักว่าสิ่งที่พระคัมภีร์ต้องการเสนอไม่ใช่ว่าความรอดมาจากการกระทำของเรา แต่เป็นว่าถ้ามีความเชื่อจริง การกระทำต้องแสดงถึงความรอดนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าไม่ใช่ว่าเราทำดีเพื่อรอดแต่เรารอดเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวไว้ในทิตัส 3: 5–8 ว่า “พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่ และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์นั้นได้ทรงประทานแก่เราทั้งหลายอย่างบริบูรณ์ โดยพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเราเพื่อว่าเมื่อเราได้เป็นคนชอบธรรมแล้วโดยพระคุณของพระองค์ เราจะได้เป็นผู้ได้รับมรดกที่มุ่งหวังคือชีวิตนิรันดร์คำนี้เป็นคำสัตย์จริง ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านเน้นเรื่องเหล่านี้ เพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระเจ้าแล้วจะได้อุตส่าห์กระทำการดี การเหล่านี้ดีและเป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง” ฉะนั้นผู้ที่กล่าวว่าตนเองเชื่อในพระเจ้าจึงควร “อุตส่าห์กระทำการดี” (ทิตัส 3: 8) เมื่อพระเจ้าประทานความรอดให้แล้ว ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเป็นผู้เชื่อต้อง “อย่าเอาเสรีภาพของท่านเป็นช่องทางที่จะปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) ทั้งนี้เพื่อดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ เมื่อพิจารณาที่พระเยซูตรัสว่า “ถ้าแยกจากเราแล้วท่านจะทำสิ่งใดไม่ได้เลย” (ยอห์น 15: 5) และที่เปาโลกล่าว “ข้าพเจ้ากระทำทุกสิ่งได้โดยพระคริสต์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4: 13) จะเห็นว่าการดำเนินชีวิตใหม่ตามสภาพนิสัยใหม่และสถานะของความเป็นคนชอบธรรมนั้นเป็นไปได้ก็ด้วยการพึ่งพาพระเจ้า ถ้าผู้เชื่อยังคง “ปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) หรือยังมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปอยู่ จึงควรอธิษฐานขอให้พระเจ้าทรงสอนให้เราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาพระเจ้ามากขึ้นเพื่อที่จะดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมของเรา
Labels:
believers,
outside chulasic park,
thai,
words of wisdom
Friday, June 12, 2009
ความบาป VS บาปกรรม
เมื่อผู้ใดจะอธิษฐานต้อนรับพระเยซูเข้ามาเป็นพระเจ้าในชีวิต หรืออย่างที่เรียกกันว่ารับเชื่อนั้น สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องแน่ใจนอกจากความจริงที่ว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้าองค์เดียวซึ่งตายบนไม้กางเขนเพื่อไถ่เราจากบาปก็คือการที่เราเป็นคนบาป ซึ่งโดยสาระสำคัญไม่ได้หมายความเพียงแค่ว่าเราทำผิดพระบัญญัติของพระเจ้าในข้อต่างๆ แต่รวมถึงการที่เรามีสถานะเป็นคนบาป ทั้งยังมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะทำบาปอีกด้วย เนื่องจากแนวคิดในเชิงศาสนาของคนไทยมักมีที่มาจากศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ความคิดเรื่องบาปสำหรับคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่ยังไม่รู้จักพระเจ้าจึงมักเป็นไปตามแนวศาสนาพุทธซึ่งเรียก “บาป” โดยใช้คำว่า “บาปกรรม” และกรรมหมายถึงการกระทำ บาปกรรมจึงหมายถึงการกระทำที่เป็นบาปเท่านั้น
นอกเหนือจากความคิดพื้นฐานในเรื่องของบาปที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นแล้ว บาปกรรมในศาสนาพุทธและความบาปในคริสตศาสนายังมีความแตกต่างหลักอื่นๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ประการคือนิยามของบาป นิยามของคนบาป และระดับของบาป บาปในศาสนาพุทธคือสิ่งที่ทำให้จิตใจมีคุณภาพต่ำลง สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาปเรียกว่าอกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ 1. ฆ่าสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม 4. พูดเท็จ 5. พูดส่อเสียด 6. พูดคำหยาบ 7. พูดเพ้อเจ้อ 8. คิดโลภมาก 9. คิดพยาบาท และ 10. มีความเห็นผิด คนบาปคือผู้ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ไม่กระทำสิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่บาป ดังที่มีคำกล่าวภาษาบาลีว่า “นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต” บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) และศาสนาพุทธยังจัดบาปกรรมซึ่งมีโทษหนักที่สุด เรียกว่า “อนันตริยกรรม” ไว้ 5 ประการ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้สงฆ์แตกแยก ทำร้ายพระวรกายพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด แสดงให้เห็นว่าบาปกรรมมีระดับหนักเบาต่างๆ กันไป สำหรับความบาปในคริสตศาสนาคือการไม่เชื่อฟังพระเจ้า สภาพซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า และการกระทำซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาปเพราะเป็นลูกหลานของอาดัมซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกและไม่เชื่อฟังพระเจ้า แม้ตามคำสอนของคาทอลิกจะมีบาปที่จัดว่าร้ายแรง 7 ประการ (seven deadly sins) คือ 1. ราคะ 2. ตะกละ 3. โลภะ 4. เกียจคร้าน 5. โทสะ 6. อิจฉา และ 7. โอหัง ในคริสตศาสนา บาปไม่มีระดับมากน้อยต่างกัน ทุกบาปเป็นการทำผิดต่อพระเจ้าทั้งสิ้น แต่ก็มีการแบ่งบาปเป็น 2 ประเภทคือ บาปที่นำไปสู่ความตายและบาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตาย ดังที่ปรากฎใน 1 ยอห์น 5: 17 ว่า “การอธรรมทุกอย่างเป็นบาป แต่บาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตายก็มี” และบาปที่นำไปสู่ความตายนั้นมีอยู่เพียงอย่างเดียวคือการปฏิเสธพระเจ้าตลอดไป
ในการประกาศข่าวประเสริฐ เราควรตระหนักถึงความแตกต่างเหล่านี้ระหว่างความบาปในคริสตศาสนาและบาปกรรมในศาสนาพุทธและถ่ายทอดให้ผู้ที่จะรับเชื่อได้ทราบ เพื่อให้แน่ใจว่าเขามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของความรอดต่อไป
นอกเหนือจากความคิดพื้นฐานในเรื่องของบาปที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นแล้ว บาปกรรมในศาสนาพุทธและความบาปในคริสตศาสนายังมีความแตกต่างหลักอื่นๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ประการคือนิยามของบาป นิยามของคนบาป และระดับของบาป บาปในศาสนาพุทธคือสิ่งที่ทำให้จิตใจมีคุณภาพต่ำลง สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาปเรียกว่าอกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ 1. ฆ่าสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม 4. พูดเท็จ 5. พูดส่อเสียด 6. พูดคำหยาบ 7. พูดเพ้อเจ้อ 8. คิดโลภมาก 9. คิดพยาบาท และ 10. มีความเห็นผิด คนบาปคือผู้ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ไม่กระทำสิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่บาป ดังที่มีคำกล่าวภาษาบาลีว่า “นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต” บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) และศาสนาพุทธยังจัดบาปกรรมซึ่งมีโทษหนักที่สุด เรียกว่า “อนันตริยกรรม” ไว้ 5 ประการ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้สงฆ์แตกแยก ทำร้ายพระวรกายพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด แสดงให้เห็นว่าบาปกรรมมีระดับหนักเบาต่างๆ กันไป สำหรับความบาปในคริสตศาสนาคือการไม่เชื่อฟังพระเจ้า สภาพซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า และการกระทำซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาปเพราะเป็นลูกหลานของอาดัมซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกและไม่เชื่อฟังพระเจ้า แม้ตามคำสอนของคาทอลิกจะมีบาปที่จัดว่าร้ายแรง 7 ประการ (seven deadly sins) คือ 1. ราคะ 2. ตะกละ 3. โลภะ 4. เกียจคร้าน 5. โทสะ 6. อิจฉา และ 7. โอหัง ในคริสตศาสนา บาปไม่มีระดับมากน้อยต่างกัน ทุกบาปเป็นการทำผิดต่อพระเจ้าทั้งสิ้น แต่ก็มีการแบ่งบาปเป็น 2 ประเภทคือ บาปที่นำไปสู่ความตายและบาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตาย ดังที่ปรากฎใน 1 ยอห์น 5: 17 ว่า “การอธรรมทุกอย่างเป็นบาป แต่บาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตายก็มี” และบาปที่นำไปสู่ความตายนั้นมีอยู่เพียงอย่างเดียวคือการปฏิเสธพระเจ้าตลอดไป
ในการประกาศข่าวประเสริฐ เราควรตระหนักถึงความแตกต่างเหล่านี้ระหว่างความบาปในคริสตศาสนาและบาปกรรมในศาสนาพุทธและถ่ายทอดให้ผู้ที่จะรับเชื่อได้ทราบ เพื่อให้แน่ใจว่าเขามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของความรอดต่อไป
Labels:
believers,
outside chulasic park,
thai,
words of wisdom
Thursday, June 11, 2009
A righteous sinner?
This was written on 13 December 2008 as a reflection paper handed in weekly for the Christian Doctrines in the Thai Context course at my Bible school.
For all have sinned and fall short of the glory of God. (Romans 3: 23)
At my first Thai church, it was said, with great conviction, that we believers were all righteous! But “We were actually sinners!” confirmed the American pastor at my second church in Thailand, which was an international one. Taking First Timothy 1: 15–16 into consideration, which go: “Here is a trustworthy saying that deserves full acceptance: Christ Jesus came into the world to save sinners—of whom I am the worst. But for that very reason I was shown mercy so that in me, the worst of sinners, Christ Jesus might display his unlimited patience as an example for those who would believe on him and receive eternal life,” where Paul considers himself the worst of sinners, I thought it was more likely that the latter pastor’s was a righteous view, though, admittedly, the former’s did not appear less right.
Discussion of the three aspects of sin last and this Tuesdays helped clarify things for me. Sin can be seen as our acts of transgression, our tendency to break the laws of God, and the sinful status which, as Adam’s descendants, we were all born with. The Thai pastor above must have been contemplating our status as the slaves of righteousness while the international God’s servant would seem to be pondering over our sinful actions and inclinations. Neither proved comprehensively right or wrong.
A note of caution given in the two classes to bear in mind all the three aspects of sin when reading the Scripture was definitely a sound one. The word sin in “Anyone, then, who knows the good he ought to do and doesn’t do it, sins” (James 4: 17), “You, my brothers, were called to be free. But do not use your freedom to indulge the sinful nature; rather, serve one another in love” (Galatians 5: 13), and “You have been set free from sin and have become slaves to righteousness” (Romans 6: 18) possibly refers to the sinful action, tendency, and status, respectively. From the linguistic points of view, this explains why the word sin, at least in English, may be either a count noun when it denotes each transgression, or an uncount noun when it signifies disobedience to God’s will and the condition as a result of this disobedience.
For all have sinned and fall short of the glory of God. (Romans 3: 23)
At my first Thai church, it was said, with great conviction, that we believers were all righteous! But “We were actually sinners!” confirmed the American pastor at my second church in Thailand, which was an international one. Taking First Timothy 1: 15–16 into consideration, which go: “Here is a trustworthy saying that deserves full acceptance: Christ Jesus came into the world to save sinners—of whom I am the worst. But for that very reason I was shown mercy so that in me, the worst of sinners, Christ Jesus might display his unlimited patience as an example for those who would believe on him and receive eternal life,” where Paul considers himself the worst of sinners, I thought it was more likely that the latter pastor’s was a righteous view, though, admittedly, the former’s did not appear less right.
Discussion of the three aspects of sin last and this Tuesdays helped clarify things for me. Sin can be seen as our acts of transgression, our tendency to break the laws of God, and the sinful status which, as Adam’s descendants, we were all born with. The Thai pastor above must have been contemplating our status as the slaves of righteousness while the international God’s servant would seem to be pondering over our sinful actions and inclinations. Neither proved comprehensively right or wrong.
A note of caution given in the two classes to bear in mind all the three aspects of sin when reading the Scripture was definitely a sound one. The word sin in “Anyone, then, who knows the good he ought to do and doesn’t do it, sins” (James 4: 17), “You, my brothers, were called to be free. But do not use your freedom to indulge the sinful nature; rather, serve one another in love” (Galatians 5: 13), and “You have been set free from sin and have become slaves to righteousness” (Romans 6: 18) possibly refers to the sinful action, tendency, and status, respectively. From the linguistic points of view, this explains why the word sin, at least in English, may be either a count noun when it denotes each transgression, or an uncount noun when it signifies disobedience to God’s will and the condition as a result of this disobedience.
Friday, April 17, 2009
Subscribe to:
Posts (Atom)