Remember, those Christians who peeve you so much—God chose them too. For some reason, I find it much easier to show grace and acceptance toward immoral unbelievers than toward uptight, judgmental Christians. Which, of course, turns me into a different kind of uptight, judgmental Christian.
A Believer’s To-Be List: Steps to a fresh start with God by Philip Yancey http://www.christianitytoday.com/
Towards the end of class last Tuesday, we were focusing on how to treat non-believers, bearing in mind that they had and were God’s image too. I couldn’t help but remembering this quotation, which I had come across quite some time ago and couldn’t have agreed more. In my experience, it’s been much more difficult to deal with those believers who claim to have faith but don’t seem to have deeds (James 2: 14). When I was first back, with Christian ideals freshly baked from England, I found a few people at my first Thai church simply not so very loving. Believing that part of love was speaking the truth, I confronted them, surely along the line of Ephesians 4: 15 (speaking the truth in love). But I was then told to finish reading the Bible before I started to go about criticizing long-time believers. That was when I learned that Thai Christians were still Thai, and of course Thai people tend to find it hard to accept criticism, however constructive. Later on in my journey with Christ at other churches, I’ve run into long-time Thai believers who seem to be fond of causing what they call ‘new believers’ like myself to stumble (1 Corinthians 10: 32) and who will say to me, “If your love [for your neighbors] was true, you would have to be able to endure this.” Such a nasty version of 1 John 2: 10 –“Whoever loves his brother lives in the light, and there is nothing in him to make him stumble”! Apart from the quotation above, I’ve been given a lesson on how to handle those Christian leaders who can’t seem to practice what they preach in Romans 12: 3 – “For by the grace given me I say to every one of you: Do not think of yourself more highly than you ought, but rather think of yourself with sober judgment, in accordance with the measure of faith God has given you.”
Monday, June 15, 2009
Saturday, June 13, 2009
Lost or Found?
เพราะว่าบุตรมนุษย์ได้มาเพื่อจะแสวงหาและช่วยผู้ที่หลงหายไปนั้นให้รอด (ลูกา 19: 10)
เมื่อความบาปมี 3 ด้านคือ
1. สถานะความเป็นคนบาปที่ทุกคนมีเนื่องจากเป็นลูกหลานของอาดัม
2. สภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาป และ
3. การกระทำที่เป็นบาป
จึงไม่น่าแปลกใจที่ความรอดก็มี 3 ด้านเช่นกัน นั่นคือ
1. สถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้
2. สภาพนิสัยใหม่ที่เกิดจากการถูกเปลี่ยนแปลงภายในจากมืดเป็นสว่าง และ
3. การกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่ที่เกิดจากกระบวนการถูกชำระให้บริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าคิดว่าในขณะที่สถานะความเป็นคนบาปทำให้เรามีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอย่างชัดเจน ดูเหมือนว่าสถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ผู้เชื่อทุกคนตามที่กล่าวไว้ในโรม 6: 18 ว่า “เมื่อท่านพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็ได้กลายเป็นทาสของความชอบธรรม” นั้น ไม่ได้นำไปสู่สภาพนิสัยใหม่และการกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่อย่างชัดเจนในลักษณะเดียวกัน ผู้เชื่อซึ่งมีสถานะเป็นคนชอบธรรมดูจะยังคงมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอยู่นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรทำอย่างไร
หากพิจารณายากอบ 2: 14 และ 24 ที่ว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า แม้ผู้ใดจะว่าตนมีความเชื่อ แต่ไม่มีการกระทำ จะได้ประโยชน์อะไร ความเชื่อจะช่วยผู้นั้นให้รอดได้หรือ” และ “ผู้ใดจะเป็นคนชอบธรรมได้ก็เนื่องด้วยการกระทำและมิใช่ด้วยความเชื่อเพียงอย่างเดียว” เราต้องตระหนักว่าสิ่งที่พระคัมภีร์ต้องการเสนอไม่ใช่ว่าความรอดมาจากการกระทำของเรา แต่เป็นว่าถ้ามีความเชื่อจริง การกระทำต้องแสดงถึงความรอดนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าไม่ใช่ว่าเราทำดีเพื่อรอดแต่เรารอดเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวไว้ในทิตัส 3: 5–8 ว่า “พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่ และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์นั้นได้ทรงประทานแก่เราทั้งหลายอย่างบริบูรณ์ โดยพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเราเพื่อว่าเมื่อเราได้เป็นคนชอบธรรมแล้วโดยพระคุณของพระองค์ เราจะได้เป็นผู้ได้รับมรดกที่มุ่งหวังคือชีวิตนิรันดร์คำนี้เป็นคำสัตย์จริง ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านเน้นเรื่องเหล่านี้ เพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระเจ้าแล้วจะได้อุตส่าห์กระทำการดี การเหล่านี้ดีและเป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง” ฉะนั้นผู้ที่กล่าวว่าตนเองเชื่อในพระเจ้าจึงควร “อุตส่าห์กระทำการดี” (ทิตัส 3: 8) เมื่อพระเจ้าประทานความรอดให้แล้ว ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเป็นผู้เชื่อต้อง “อย่าเอาเสรีภาพของท่านเป็นช่องทางที่จะปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) ทั้งนี้เพื่อดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ เมื่อพิจารณาที่พระเยซูตรัสว่า “ถ้าแยกจากเราแล้วท่านจะทำสิ่งใดไม่ได้เลย” (ยอห์น 15: 5) และที่เปาโลกล่าว “ข้าพเจ้ากระทำทุกสิ่งได้โดยพระคริสต์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4: 13) จะเห็นว่าการดำเนินชีวิตใหม่ตามสภาพนิสัยใหม่และสถานะของความเป็นคนชอบธรรมนั้นเป็นไปได้ก็ด้วยการพึ่งพาพระเจ้า ถ้าผู้เชื่อยังคง “ปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) หรือยังมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปอยู่ จึงควรอธิษฐานขอให้พระเจ้าทรงสอนให้เราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาพระเจ้ามากขึ้นเพื่อที่จะดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมของเรา
เมื่อความบาปมี 3 ด้านคือ
1. สถานะความเป็นคนบาปที่ทุกคนมีเนื่องจากเป็นลูกหลานของอาดัม
2. สภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาป และ
3. การกระทำที่เป็นบาป
จึงไม่น่าแปลกใจที่ความรอดก็มี 3 ด้านเช่นกัน นั่นคือ
1. สถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้
2. สภาพนิสัยใหม่ที่เกิดจากการถูกเปลี่ยนแปลงภายในจากมืดเป็นสว่าง และ
3. การกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่ที่เกิดจากกระบวนการถูกชำระให้บริสุทธิ์
อย่างไรก็ตามเป็นเรื่องน่าคิดว่าในขณะที่สถานะความเป็นคนบาปทำให้เรามีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอย่างชัดเจน ดูเหมือนว่าสถานะความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ผู้เชื่อทุกคนตามที่กล่าวไว้ในโรม 6: 18 ว่า “เมื่อท่านพ้นจากบาปแล้ว ท่านก็ได้กลายเป็นทาสของความชอบธรรม” นั้น ไม่ได้นำไปสู่สภาพนิสัยใหม่และการกระทำ ความประพฤติ หรือแนวทางการดำเนินชีวิตใหม่อย่างชัดเจนในลักษณะเดียวกัน ผู้เชื่อซึ่งมีสถานะเป็นคนชอบธรรมดูจะยังคงมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปซึ่งแสดงออกเป็นการกระทำที่เป็นบาปอยู่นั่นเอง เมื่อเป็นเช่นนี้ เราควรทำอย่างไร
หากพิจารณายากอบ 2: 14 และ 24 ที่ว่า “พี่น้องของข้าพเจ้า แม้ผู้ใดจะว่าตนมีความเชื่อ แต่ไม่มีการกระทำ จะได้ประโยชน์อะไร ความเชื่อจะช่วยผู้นั้นให้รอดได้หรือ” และ “ผู้ใดจะเป็นคนชอบธรรมได้ก็เนื่องด้วยการกระทำและมิใช่ด้วยความเชื่อเพียงอย่างเดียว” เราต้องตระหนักว่าสิ่งที่พระคัมภีร์ต้องการเสนอไม่ใช่ว่าความรอดมาจากการกระทำของเรา แต่เป็นว่าถ้ามีความเชื่อจริง การกระทำต้องแสดงถึงความรอดนั้น หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งได้ว่าไม่ใช่ว่าเราทำดีเพื่อรอดแต่เรารอดเพื่อจะดำเนินชีวิตอย่างถูกต้อง ดังที่กล่าวไว้ในทิตัส 3: 5–8 ว่า “พระองค์ได้ทรงช่วยเราให้รอด มิใช่ด้วยการกระทำที่ชอบธรรมของเราเอง แต่พระองค์ทรงพระกรุณาชำระให้เรามีใจบังเกิดใหม่ และทรงสร้างเราขึ้นมาใหม่โดยพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์นั้นได้ทรงประทานแก่เราทั้งหลายอย่างบริบูรณ์ โดยพระเยซูคริสต์พระผู้ช่วยให้รอดของเราเพื่อว่าเมื่อเราได้เป็นคนชอบธรรมแล้วโดยพระคุณของพระองค์ เราจะได้เป็นผู้ได้รับมรดกที่มุ่งหวังคือชีวิตนิรันดร์คำนี้เป็นคำสัตย์จริง ข้าพเจ้าปรารถนาให้ท่านเน้นเรื่องเหล่านี้ เพื่อคนทั้งหลายที่เชื่อในพระเจ้าแล้วจะได้อุตส่าห์กระทำการดี การเหล่านี้ดีและเป็นประโยชน์แก่คนทั้งปวง” ฉะนั้นผู้ที่กล่าวว่าตนเองเชื่อในพระเจ้าจึงควร “อุตส่าห์กระทำการดี” (ทิตัส 3: 8) เมื่อพระเจ้าประทานความรอดให้แล้ว ผู้ที่กล่าวว่าตนเองเป็นผู้เชื่อต้อง “อย่าเอาเสรีภาพของท่านเป็นช่องทางที่จะปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) ทั้งนี้เพื่อดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมที่พระเจ้าประทานให้ เมื่อพิจารณาที่พระเยซูตรัสว่า “ถ้าแยกจากเราแล้วท่านจะทำสิ่งใดไม่ได้เลย” (ยอห์น 15: 5) และที่เปาโลกล่าว “ข้าพเจ้ากระทำทุกสิ่งได้โดยพระคริสต์ผู้ทรงเสริมกำลังข้าพเจ้า” (ฟิลิปปี 4: 13) จะเห็นว่าการดำเนินชีวิตใหม่ตามสภาพนิสัยใหม่และสถานะของความเป็นคนชอบธรรมนั้นเป็นไปได้ก็ด้วยการพึ่งพาพระเจ้า ถ้าผู้เชื่อยังคง “ปล่อยตัวไปตามเนื้อหนัง” (กาลาเทีย 5: 13) หรือยังมีสภาพนิสัยหรือแนวโน้มที่จะทำบาปอยู่ จึงควรอธิษฐานขอให้พระเจ้าทรงสอนให้เราเรียนรู้ที่จะพึ่งพาพระเจ้ามากขึ้นเพื่อที่จะดำเนินชีวิตให้เหมาะสมกับสภาพนิสัยและสถานะใหม่ของความเป็นคนชอบธรรมของเรา
Labels:
believers,
outside chulasic park,
thai,
words of wisdom
Friday, June 12, 2009
ความบาป VS บาปกรรม
เมื่อผู้ใดจะอธิษฐานต้อนรับพระเยซูเข้ามาเป็นพระเจ้าในชีวิต หรืออย่างที่เรียกกันว่ารับเชื่อนั้น สิ่งสำคัญอีกสิ่งหนึ่งที่ต้องแน่ใจนอกจากความจริงที่ว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้าองค์เดียวซึ่งตายบนไม้กางเขนเพื่อไถ่เราจากบาปก็คือการที่เราเป็นคนบาป ซึ่งโดยสาระสำคัญไม่ได้หมายความเพียงแค่ว่าเราทำผิดพระบัญญัติของพระเจ้าในข้อต่างๆ แต่รวมถึงการที่เรามีสถานะเป็นคนบาป ทั้งยังมีแนวโน้มตามธรรมชาติที่จะทำบาปอีกด้วย เนื่องจากแนวคิดในเชิงศาสนาของคนไทยมักมีที่มาจากศาสนาพุทธซึ่งเป็นศาสนาประจำชาติ ความคิดเรื่องบาปสำหรับคนไทยส่วนใหญ่โดยเฉพาะที่ยังไม่รู้จักพระเจ้าจึงมักเป็นไปตามแนวศาสนาพุทธซึ่งเรียก “บาป” โดยใช้คำว่า “บาปกรรม” และกรรมหมายถึงการกระทำ บาปกรรมจึงหมายถึงการกระทำที่เป็นบาปเท่านั้น
นอกเหนือจากความคิดพื้นฐานในเรื่องของบาปที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นแล้ว บาปกรรมในศาสนาพุทธและความบาปในคริสตศาสนายังมีความแตกต่างหลักอื่นๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ประการคือนิยามของบาป นิยามของคนบาป และระดับของบาป บาปในศาสนาพุทธคือสิ่งที่ทำให้จิตใจมีคุณภาพต่ำลง สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาปเรียกว่าอกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ 1. ฆ่าสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม 4. พูดเท็จ 5. พูดส่อเสียด 6. พูดคำหยาบ 7. พูดเพ้อเจ้อ 8. คิดโลภมาก 9. คิดพยาบาท และ 10. มีความเห็นผิด คนบาปคือผู้ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ไม่กระทำสิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่บาป ดังที่มีคำกล่าวภาษาบาลีว่า “นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต” บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) และศาสนาพุทธยังจัดบาปกรรมซึ่งมีโทษหนักที่สุด เรียกว่า “อนันตริยกรรม” ไว้ 5 ประการ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้สงฆ์แตกแยก ทำร้ายพระวรกายพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด แสดงให้เห็นว่าบาปกรรมมีระดับหนักเบาต่างๆ กันไป สำหรับความบาปในคริสตศาสนาคือการไม่เชื่อฟังพระเจ้า สภาพซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า และการกระทำซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาปเพราะเป็นลูกหลานของอาดัมซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกและไม่เชื่อฟังพระเจ้า แม้ตามคำสอนของคาทอลิกจะมีบาปที่จัดว่าร้ายแรง 7 ประการ (seven deadly sins) คือ 1. ราคะ 2. ตะกละ 3. โลภะ 4. เกียจคร้าน 5. โทสะ 6. อิจฉา และ 7. โอหัง ในคริสตศาสนา บาปไม่มีระดับมากน้อยต่างกัน ทุกบาปเป็นการทำผิดต่อพระเจ้าทั้งสิ้น แต่ก็มีการแบ่งบาปเป็น 2 ประเภทคือ บาปที่นำไปสู่ความตายและบาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตาย ดังที่ปรากฎใน 1 ยอห์น 5: 17 ว่า “การอธรรมทุกอย่างเป็นบาป แต่บาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตายก็มี” และบาปที่นำไปสู่ความตายนั้นมีอยู่เพียงอย่างเดียวคือการปฏิเสธพระเจ้าตลอดไป
ในการประกาศข่าวประเสริฐ เราควรตระหนักถึงความแตกต่างเหล่านี้ระหว่างความบาปในคริสตศาสนาและบาปกรรมในศาสนาพุทธและถ่ายทอดให้ผู้ที่จะรับเชื่อได้ทราบ เพื่อให้แน่ใจว่าเขามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของความรอดต่อไป
นอกเหนือจากความคิดพื้นฐานในเรื่องของบาปที่แตกต่างกันดังกล่าวข้างต้นแล้ว บาปกรรมในศาสนาพุทธและความบาปในคริสตศาสนายังมีความแตกต่างหลักอื่นๆ ซึ่งในที่นี้จะกล่าวถึง 3 ประการคือนิยามของบาป นิยามของคนบาป และระดับของบาป บาปในศาสนาพุทธคือสิ่งที่ทำให้จิตใจมีคุณภาพต่ำลง สิ่งที่ทำแล้วเป็นบาปเรียกว่าอกุศลกรรมบถ 10 ได้แก่ 1. ฆ่าสัตว์ 2. ลักทรัพย์ 3. ประพฤติผิดในกาม 4. พูดเท็จ 5. พูดส่อเสียด 6. พูดคำหยาบ 7. พูดเพ้อเจ้อ 8. คิดโลภมาก 9. คิดพยาบาท และ 10. มีความเห็นผิด คนบาปคือผู้ที่กระทำสิ่งเหล่านี้ ผู้ที่ไม่กระทำสิ่งเหล่านี้ถือว่าไม่บาป ดังที่มีคำกล่าวภาษาบาลีว่า “นตฺถิ ปาปํ อกุพฺพโต” บาปย่อมไม่มีแก่บุคคลผู้ไม่ทำบาป (ข้อมูลจากวิกิพีเดีย) และศาสนาพุทธยังจัดบาปกรรมซึ่งมีโทษหนักที่สุด เรียกว่า “อนันตริยกรรม” ไว้ 5 ประการ คือ ฆ่าบิดา ฆ่ามารดา ฆ่าพระอรหันต์ ทำให้สงฆ์แตกแยก ทำร้ายพระวรกายพระพุทธเจ้าให้ห้อเลือด แสดงให้เห็นว่าบาปกรรมมีระดับหนักเบาต่างๆ กันไป สำหรับความบาปในคริสตศาสนาคือการไม่เชื่อฟังพระเจ้า สภาพซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า และการกระทำซึ่งเป็นผลจากการไม่เชื่อฟังพระเจ้า มนุษย์ทุกคนเป็นคนบาปเพราะเป็นลูกหลานของอาดัมซึ่งเป็นมนุษย์คนแรกและไม่เชื่อฟังพระเจ้า แม้ตามคำสอนของคาทอลิกจะมีบาปที่จัดว่าร้ายแรง 7 ประการ (seven deadly sins) คือ 1. ราคะ 2. ตะกละ 3. โลภะ 4. เกียจคร้าน 5. โทสะ 6. อิจฉา และ 7. โอหัง ในคริสตศาสนา บาปไม่มีระดับมากน้อยต่างกัน ทุกบาปเป็นการทำผิดต่อพระเจ้าทั้งสิ้น แต่ก็มีการแบ่งบาปเป็น 2 ประเภทคือ บาปที่นำไปสู่ความตายและบาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตาย ดังที่ปรากฎใน 1 ยอห์น 5: 17 ว่า “การอธรรมทุกอย่างเป็นบาป แต่บาปที่ไม่ได้นำไปสู่ความตายก็มี” และบาปที่นำไปสู่ความตายนั้นมีอยู่เพียงอย่างเดียวคือการปฏิเสธพระเจ้าตลอดไป
ในการประกาศข่าวประเสริฐ เราควรตระหนักถึงความแตกต่างเหล่านี้ระหว่างความบาปในคริสตศาสนาและบาปกรรมในศาสนาพุทธและถ่ายทอดให้ผู้ที่จะรับเชื่อได้ทราบ เพื่อให้แน่ใจว่าเขามีความเข้าใจที่ถูกต้อง เพราะสิ่งนี้จะนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องของความรอดต่อไป
Labels:
believers,
outside chulasic park,
thai,
words of wisdom
Thursday, June 11, 2009
A righteous sinner?
This was written on 13 December 2008 as a reflection paper handed in weekly for the Christian Doctrines in the Thai Context course at my Bible school.
For all have sinned and fall short of the glory of God. (Romans 3: 23)
At my first Thai church, it was said, with great conviction, that we believers were all righteous! But “We were actually sinners!” confirmed the American pastor at my second church in Thailand, which was an international one. Taking First Timothy 1: 15–16 into consideration, which go: “Here is a trustworthy saying that deserves full acceptance: Christ Jesus came into the world to save sinners—of whom I am the worst. But for that very reason I was shown mercy so that in me, the worst of sinners, Christ Jesus might display his unlimited patience as an example for those who would believe on him and receive eternal life,” where Paul considers himself the worst of sinners, I thought it was more likely that the latter pastor’s was a righteous view, though, admittedly, the former’s did not appear less right.
Discussion of the three aspects of sin last and this Tuesdays helped clarify things for me. Sin can be seen as our acts of transgression, our tendency to break the laws of God, and the sinful status which, as Adam’s descendants, we were all born with. The Thai pastor above must have been contemplating our status as the slaves of righteousness while the international God’s servant would seem to be pondering over our sinful actions and inclinations. Neither proved comprehensively right or wrong.
A note of caution given in the two classes to bear in mind all the three aspects of sin when reading the Scripture was definitely a sound one. The word sin in “Anyone, then, who knows the good he ought to do and doesn’t do it, sins” (James 4: 17), “You, my brothers, were called to be free. But do not use your freedom to indulge the sinful nature; rather, serve one another in love” (Galatians 5: 13), and “You have been set free from sin and have become slaves to righteousness” (Romans 6: 18) possibly refers to the sinful action, tendency, and status, respectively. From the linguistic points of view, this explains why the word sin, at least in English, may be either a count noun when it denotes each transgression, or an uncount noun when it signifies disobedience to God’s will and the condition as a result of this disobedience.
For all have sinned and fall short of the glory of God. (Romans 3: 23)
At my first Thai church, it was said, with great conviction, that we believers were all righteous! But “We were actually sinners!” confirmed the American pastor at my second church in Thailand, which was an international one. Taking First Timothy 1: 15–16 into consideration, which go: “Here is a trustworthy saying that deserves full acceptance: Christ Jesus came into the world to save sinners—of whom I am the worst. But for that very reason I was shown mercy so that in me, the worst of sinners, Christ Jesus might display his unlimited patience as an example for those who would believe on him and receive eternal life,” where Paul considers himself the worst of sinners, I thought it was more likely that the latter pastor’s was a righteous view, though, admittedly, the former’s did not appear less right.
Discussion of the three aspects of sin last and this Tuesdays helped clarify things for me. Sin can be seen as our acts of transgression, our tendency to break the laws of God, and the sinful status which, as Adam’s descendants, we were all born with. The Thai pastor above must have been contemplating our status as the slaves of righteousness while the international God’s servant would seem to be pondering over our sinful actions and inclinations. Neither proved comprehensively right or wrong.
A note of caution given in the two classes to bear in mind all the three aspects of sin when reading the Scripture was definitely a sound one. The word sin in “Anyone, then, who knows the good he ought to do and doesn’t do it, sins” (James 4: 17), “You, my brothers, were called to be free. But do not use your freedom to indulge the sinful nature; rather, serve one another in love” (Galatians 5: 13), and “You have been set free from sin and have become slaves to righteousness” (Romans 6: 18) possibly refers to the sinful action, tendency, and status, respectively. From the linguistic points of view, this explains why the word sin, at least in English, may be either a count noun when it denotes each transgression, or an uncount noun when it signifies disobedience to God’s will and the condition as a result of this disobedience.
Subscribe to:
Posts (Atom)