Wednesday, November 21, 2007

The Wet: a forwarded email from a student


เรื่องมีอยู่ว่า ระหว่างที่ผมกำลังเดินไปมหา'ลัย มีแหม่มฝรั่งอยู่คน เป็นนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็ค เดินเข้ามาถามผมว่า


"Execute me. How can I go to the wet?"

"Hmm? What wet?"

"No. I mean the place."

สถานที่ ... แล้วสถานที่ไหนเปียกวะ?

"Pub?" ชื่อผับหรือเปล่าหว่า

"No."

"You mean ... WEST?"

"No, I said THE WET not THE WEST!"

"So what would you do on the wet?" จากนั้นแหม่มจึงหยิบแผนที่มาให้ดู

"I'll like to go this place. It's said there's near the wet." เธอชี้ไปที่ ๆ แห่งหนึ่ง ซึ่งผมอ่านไม่รู้เรื่อง เพราะแผนที่มันบอกเป็นภาษาอังกฤษ ซึ่งบอกชื่อสถานที่เป็นภาษาคาราโอเกะ แถมลายมือสุดยอดด้วยมันอ่านยากโคตร ๆ ขมวดตีลังกาได้ตั้งหลายตลบ

"Do you know how could I go to this place?"

"..."

เดินถนนสายนี้มา5-6ปี ยังไม่เคยรู้จักเลยว่าเดอะว้งเดอะเว้ดอยู่ที่ไหน สงสัยแหม่มจะมาผิดที่ซะแล้วล่ะมั้ง น่าสงสาร สวยซะเปล่า แต่ดันเมาควันพิษในเมืองไทยซะงั้น

ทันใดนั้น จู่ ๆ สายตาผมก็เหลือบไปมองป้ายจากข้างหลังแหม่ม ซึ่งอยู่อีกฟากของถนน

"จะบ้าตาย..."

สรุป ผมโง่หรือว่าฝรั่งโง่กันแน่เนี่ย

Wednesday, September 05, 2007

ขอบคุณพระเจ้าที่แสดงความรักผ่านทางครู ...

นี่คือคำอธิษฐานของเอื้อย นักเรียนปี 3 วิชาแปล ซึ่งเครียด จนไม่ได้มาสอบย่อยครั้งที่ 3 แล้วเลยได้มาคุยกันว่า เราเป็นผู้เชื่อ เราต้องไม่เครียดสิคะ Jesus died so that we shall live ใช่ไหม เพราะฉะนั้นอย่าให้มันสูญเปล่าค่ะ คุยกันอยู่ชั่วโมงครึ่งเมื่อวันอังคาร เอื้อยบอกว่าคุยกับครู ก็หายเครียดแล้วค่ะ ก่อนไป ก็อธิษฐานกัน ดีใจมากที่ได้ยินคำอธิษฐานข้างบนนี้ค่ะ
วันอาทิตย์นี้ จะรับ baptism แล้วนะคะ
Next on: My testimony

Friday, August 24, 2007

The script

เขียนเสร็จเมื่อคืนนี้ค่ะ จะไปอัดรายการบ่ายสองวันนี้ ออกอากาศสัปดาห์แรกของเดือนกันยายน ไม่รู้เหมือนกันว่าวัน เวลา อะไร

The Lost Tense
กาลที่หายไป
24 ส.ค. 2550

1. กาลคืออะไร
กาล (Tense) คือ เครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้แสดงเวลาอดีต ปัจจุบัน อนาคต
บางภาษามีกาลเช่นภาษาอังกฤษ สำหรับครูสอนภาษาอังกฤษหรือหนังสือไวยากรณ์ภาษาอังกฤษแล้ว กาลที่ใช้ในการสอนจะมี 12 กาล คือ present simple, present progressive, present perfect, present perfect progressive, past simple, past progressive, past perfect, past perfect progressive, future simple, future progressive, future perfect, future perfect progressive ซึ่งแต่ละกาลจะมีรูปกริยาต่าง ๆ กันไป แต่ทางภาษาศาสตร์จะถือว่าภาษาอังกฤษมี 2 กาลคืออดีตและปัจจุบัน ส่วนอนาคตถือเป็นสิ่งที่เรียกว่าทัศนภาวะ (modality) ซึ่งเป็นสิ่งที่แสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดที่มีต่อสิ่งที่พูดออกมาว่าจำเป็นต้องเกิดแน่ ๆ (necessity) หรือ อาจจะเกิด (possibility) ตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะมีดังนี้ 1. คำกริยาช่วยที่ใช้บอกทัศนะภาวะ เช่น may, might, can, could 2. คำคุณศัพท์ เช่น possible, probable 3. คำกริยาวิเศษณ์ เช่น possibly, probably และ 4. อนุประโยค เช่น I think …
สำหรับภาษาไทย อย่างที่เราทราบกัน จะเป็นภาษาที่ไม่มีกาล คือรูปกริยาใด ๆ จะใช้บอกเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ อย่างไรก็ตามภาษาไทยมีคำทางไวยากรณ์ที่แม้แต่เจ้าของภาษาไทยเองก็อาจคิดว่าเป็นคำซึ่งบอกเวลา หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยโดยทั่วไปมักระบุว่าคำอย่างเช่น ได้ เคย แล้ว เพิ่ง บอกอดีตกาล กำลัง อยู่ บอกปัจจุบันกาล และจะ บอกอนาคต

2. กาลหายไปไหน
ชื่อเรื่องที่ว่า กาลที่หายไป จะหมายความว่า จริง ๆ แล้ว เครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้แสดงเวลาทั้งในภาษาที่มีกาลและภาษาที่ไม่มีกาลทั้งหมดเป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality marker) ไม่ได้หมายความว่าไม่มีกาล (tense) เพราะฉะนั้นเราไม่ต้องสอนนักเรียนเรื่องการใช้ tense ต่าง ๆ กันแล้ว พูดให้ชัดขึ้นก็คือมี present simple, past simeple, future simple หรืออะไรต่ออะไรที่กล่าวไว้ข้างต้น ในภาษาไทยก็มี ได้ เคย แล้ว เพิ่ง กำลัง อยู่ และจะ แต่สิ่งเหล่านี้ไม่ใช่กาล (tense) คือไม่ได้บอกเวลาอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่เป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality marker) คือบอกความแน่ใจของผู้พูดว่าเหตุการณ์ที่พูดถึงอยู่จำเป็นต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ หรือแค่อาจเป็นไปได้ หรืออาจกล่าวได้ว่า กาล (tense) ไม่ได้หายไปไหนหรอก เพียงแต่ว่ากาลไม่ได้บอกเวลาอดีต ปัจจุบัน อนาคต อย่างที่เราอาจจะเคยเรียนมาตอนเด็ก ๆ แต่บอกความคิดของผู้พูดว่าเหตุการณ์ที่พูดถึงเป็นไปได้หรือไม่

3. ทราบได้อย่างไรว่ากาลไม่ได้บอกอดีต ปัจจุบัน และอนาคต (ดำเนินการวิจัยอย่างไร)
เนื่องจากนักภาษาศาสตร์จะศึกษาข้อมูลที่เป็นการใช้ภาษาจริง ๆ ของเจ้าของภาษาเท่านั้น จึงเริ่มต้นจากการเก็บข้อมูลเบื้องต้นโดยบันทึกเทปบทสนทนาของนักเรียนปริญญาเอก 4 คนในช่วงเวลาอาหารเย็น โดย 3 คนจะถามอีก 1 คนว่าทำก่อนหน้าวันนั้นทำอะไรบ้าง วันนั้นทำอะไรบ้าง และเมื่อรับประทานอาหารเสร็จแล้ว จะทำอะไรต่อ หลังจากนั้นนำมาถอดเทป เพื่อดูความหมายและความถี่ของคำต่าง ๆ ที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเรียกว่าเป็นคำที่บอกกาลในภาษาไทย คำที่พบคือ ได้ เคย แล้ว มา ไว้ อยู่ จะ และไป อีก 2 คำที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยก็ระบุว่าเป็นคำบอกเวลาอดีต และปัจจุบัน คือ เพิ่งและกำลัง ไม่พบในบทสนทนานี้
หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยโดยทั่วไปจะระบุว่า ได้ เคย แล้ว มา ไว้ เป็นคำบอกอดีตกาล อยู่ เป็นคำบอกปัจจุบันกาล และ จะ เป็นคำบอกอนาคตกาล แต่เมื่อพิจารณาการเกิดของคำที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเรียกว่าเป็นคำที่บอกกาลเหล่านี้ จะพบว่าที่จริง คำเหล่านี้ไม่ได้บอกอดีต ปัจจุบัน หรือ อนาคต เหตุผลสำคัญประการแรกคือ แต่ละคำสามารถเกิดในประโยคที่บรรยายเหตุการณ์ที่มีกาลไม่ตรงกับสิ่งที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยระบุไว้ด้วย เช่น

(1) ได้อยู่ห้องบิสิเนสคลาสที่ไม่ได้จอง (อดีต)
(2) ยังไม่ได้จองเลย (ปัจจุบัน)
(3) พยายามจะออนไลน์แต่ออนไลน์ไม่ได้ (อดีต)
(4) ตั๋วเปลี่ยนได้หรือ (ปัจจุบัน)
(5) ไปวัดที่เคยบวชหรือเปล่า (อดีต)
(6) เขาจะมีลิสต์ไว้เลยว่าใครเคยทำอะไรมาบ้าง (ปัจจุบัน)
(7) อ้อนับไปแล้ว (อดีต)
(8) มันก็จะมีแค่นี้อยู่แล้ว (ปัจจุบัน)
(9) ร่างเป็นเอสเสก่อนแล้วจะเป็นแชปเตอร์ (อนาคต)
(10) เป็นงานโปรเจคต์ที่ซุปไปรับมาจากข้างนอกแล้วเราทีเอี่ยวด้วย (ปัจจุบัน)
(11) ขอคอลเลจได้ไม่ถึง 100 ปอนด์ เราเก็บไว้เลย เอาไว้ทำโปสเตอร์ (ปัจจุบัน)
(12) คุยกันเรื่องงานที่ยังค้างอยู่ (ปัจจุบัน)
(13) อยู่เหมือนกับเป็นคอมมอนรูม แล้วก็เลยนั่งอยู่ตรงนั้น (อดีต)
(14) ที่บอกว่ายังคิดอยู่ (อดีต)
(15) เดือนหน้าเราจะไม่อยู่ ไปอเมริกา กะว่าจะไปเดนเวอร์ด้วย (อนาคต)
(16) เขาบอกว่าเขากลับเมืองไทย เขาจะไปวัด (อดีต)
(17) เราจะนัดเจอกัน ก็ไม่รู้จะไปที่ไหนดี (อดีต)
(18) ไปอุ่นโจ๊ก ทำกับข้าวให้มันกิน (อดีต)
(19) เดี๋ยวเสร็จแล้ว จะกลับไปทำงานต่อ (อนาคต)

ข้อสรุปจากข้อมูลเบื้องต้นนี้คือคำต่าง ๆ ที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยเรียกว่าเป็นคำที่บอกกาลในภาษาไทยไม่น่าจะเป็นตัวบ่งชี้กาล เนื่องจากสามารถเกิดได้ในประโยคที่บรรยายเหตุการณ์ที่มีกาลไม่ตรงเวลาที่หนังสือไวยากรณ์ระบุไว้
ต่อมาเก็บข้อมูลเพิ่ม ทั้งจากบทสนทนา บทความจากหนังสือพิมพ์ นิตยสาร และนวนิยาย คือทั้งภาษาพูดและภาษาเขียน โดยเลือกศึกษา 5 คำโดยละเอียด คือคำว่า ได้ เคย กำลัง อยู่ จะ เนื่องจากเป็นคำที่มีความถี่สูงที่สุดในข้อมูลเบื้องต้น และครอบคลุมเวลาอดีต (ได้ เคย) ปัจจุบัน (กำลัง อยู่) และ อนาคต (จะ) ตามที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยระบุไว้ เมื่อศึกษาความหมายของ 5 คำนี้จากตัวอย่างต่าง ๆ ในข้อมูลพบว่า ได้ แสดงทัศนะภาวะแบบบอกความสามารถ (dynamic modality)

(20) เกรมลินได้จับงู (อดีต)
(21) เกรมลินจับงูได้ (อดีต หรือ ปัจจุบัน)

เคย แสดงกาลลักษณะ (aspect) แบบบอกประสบการณ์ (experiential perfect)

(22) เกรมลินเคยจับงู (อดีต)
(23) เกรมลินไม่เคยจับงู (ปัจจุบัน)

กำลัง และ อยู่ แสดงกาลลักษณะ (aspect) แบบกำลังดำเนินอยู่ (progressive)

(24) เกรมลินกำลังจับงูอยู่ (ปัจจุบัน หรือ อดีต)
ส่วน จะ แสดงทัศนะภาวะแบบบอกความเป็นไปได้เชิงความรู้ (epistemic possibility)

(25) เกรมลินจะจับงู (อนาคต หรือ อดีต)

ประโยคตัวอย่างแต่ละประโยคนี้สามารถใช้บรรยายเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคตก็ได้ แล้วแต่กรณี อีกเหตุผลหนึ่งที่แสดงว่า ได้ เคย กำลัง อยู่ และจะ ไม่ได้บอกเวลา คือ คำเหล่านี้สามารถเกิดร่วมกันได้ในประโยคเดียวกัน แต่เรารู้ว่า กาล (tense) เกิดร่วมกันไม่ได้ ประโยคภาษาอังกฤษแต่ละประโยคมีเพียงกาลเดียวเท่านั้น ตัวอย่างประโยคที่ “คำบอกเวลา” สามารถเกิดร่วมกันได้ เช่น

(26) เกรมลินเคยจับงูได้ (ปัจจุบัน)
(27) เกรมลินกำลังจะจับงู (ปัจจุบัน หรือ อดีต)
(28) เกรมลินจะจับงูได้ (อนาคต หรือ อดีต)

ทฤษฎีที่นำมาใช้อธิบายปรากฏการณ์นี้คือ อรรถศาสตร์ปริยาย (default semantics) ซึ่งกล่าวว่าประโยคใด ๆ ที่ผู้พูดคนหนึ่ง ๆ สื่อสารออกมาจะมีความหมายโดยปริยาย ซึ่งอาจไม่ใช่ความหมายตามตัวอักษร แต่เป็นความหมายที่ผู้ฟังจะรับรู้ได้ก่อนความหมายอื่นซึ่งเป็นความหมายตามตัวอักษรเสียอีก ตัวอย่างเช่น แม่พูด (29) กับลูกอาย 4 ขวบ ที่ทำมีดบาดนิ้วตัวเอง แล้วร้องไห้ไม่ยอมหยุด แม่ไม่ได้หมายความว่าลูกจะมีชีวิตเป็นอมตะ ไม่ตายตลอดไป ซึ่งนั่นคือความหมายตามตัวอักษร แต่ความหมายโดยปริยายของ (29) คือ (30) แม้คำว่า มีดบาด ไม่ได้กล่าวออกมาแต่ก็เป็นส่วนหนึ่งของความหมายโดยปริยาย

(29) หยุดร้องไห้เถอะ แค่นี้ ไม่ตายหรอก
(30) หยุดร้องไห้เถอะ มีดบาดแค่นี้ ไม่ตายหรอก

เมื่อนำอรรถศาสตร์ปริยายมาอธิบายความหมายของ ได้ เคย กำลัง อยู่ และ จะ จะกล่าวได้ว่า ความหมายโดยปริยายของ ได้ และ เคย คือ อดีตกาล ความหมายโดยปริยายของ กำลัง และ อยู่ คือ ปัจจุบันกาล และ ความหมายโดยปริยายของ จะ คือ อนาคตกาล ทั้งนี้เป็นผลสรุปจากแบบสอบถาม ซึ่งขอให้เจ้าของภาษาไทย 20 คนระบุว่าประโยคต่าง ๆ ซึ่งมีได้ เคย กำลัง อยู่ และ จะ เป็นส่วนประกอบมีความหมายเป็นกาลใด ปรากฏว่าทั้ง 20 คนตอบว่าประโยคซึ่งมี เคย เป็นอดีตกาล ประโยคซึ่งมี กำลัง และ อยู่ เป็นปัจจุบันกาล ประโยคซึ่งมี จะ เป็นอนาคตกาล ส่วน ได้ นั้น 18 คน ตอบว่าเป็นอดีตกาล แต่ 2 คนตอบว่าเป็นปัจจุบันกาล ซึ่งแสดงให้เห็นว่าความหมายอ้างอิงเชิงเวลาไม่ใช่ความหมายตามตัวอักษร แต่เป็นความหมายเชิงวัจนะปฏิบัติศาสตร์ (pragmatic)
มาถึงจุดนี้ขอสรุปว่า คำไวยากรณ์ที่หนังสือไวยากรณ์ภาษาไทยระบุว่าเป็นตัวบ่งชี้กาลนั้น ที่จริง ไม่ได้มีกาล คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต เป็นส่วนหนึ่งของความหมายตามตัวอักษร แต่ความหมายอ้างอิงเชิงเวลานี้เป็นเพียงความหมายปริยาย ซึ่งบางครั้งอาจไม่เกิดขึ้น นี่คือสาเหตุที่ ยกตัวอย่างเช่น ได้ ซึ่งปกติจะมีความหมายปริยายเป็นอดีต สามารถเกิดในประโยคที่ใช้บรรยายเหตุการณ์ในปัจจุบันได้
งานวิจัยนี้เกี่ยวข้องกับภาษาไทย ซึ่งเป็นภาษาที่ไม่มีกาล เป็นหลัก แต่ก็อ้างด้วยว่าการวิเคราะห์ว่าเครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้แสดงเวลา อดีต ปัจจุบัน อนาคต ในภาษาที่มีกาลเช่นภาษาอังกฤษ ว่าเป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality) หรือ สิ่งที่บอกความแน่ใจของผู้พูดว่าเหตุการณ์ที่พูดถึงอยู่จำเป็นต้องเกิดขึ้นแน่ ๆ หรือแค่อาจเป็นไปได้ ก็ทำได้เช่นกัน เมื่อกำหนดว่าทัศนะภาวะ (modality) มีลำดับชั้น ตั้งแต่ เหตุการณ์ที่พูดถึงไม่เกิดขึ้นแน่ ๆ ไปจนถึง อาจเกิดขึ้น และ เกิดขึ้นแน่ ๆ เราอาจกล่าวได้ว่า ตัวอย่างประโยค (31), (32) และ (33) แสดงความแน่ใจของผู้พูดลดหลั่นกันไป คือ (31) แสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดสูงที่สุด รองลงมาคือ (32) และสุดท้ายคือ (33)

(31) Mary goes to the opera tomorrow night. (tenseless future)
(32) Mary is going to the opera tomorrow night. (futurative progressive)
(33) Mary will go to the opera tomorrow night. (future will)

ตัวอย่างประโยค (34), (35) และ (36) ก็เช่นกัน คือ (34) แสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดสูงที่สุด รองลงมาคือ (35) และสุดท้ายคือ (36)

(34) Tom went to London. (simple past)
(35) Tom would have gone to London. (epistemic necessity past)
(36) Tom may have gone to London. (epistemic possibility past)

สรุปได้ว่า กาลในภาษาอังกฤษ ก็มีลักษณะความเป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality) อยู่เช่นกัน เพราะฉะนั้น อาจกล่าวได้ว่า กาล (tense) นั้นหายไป ทั้งในภาษาที่มีกาลอย่างภาษาอังกฤษ และภาษาที่ไม่มีกาลอย่างภาษาไทย

4. เหตุที่สนใจทำวิจัยเรื่องนี้
เนื่องจากสอนภาษาอังกฤษมาหลายปีและพบว่าปัญหาสำคัญของนักเรียนไทยคือระบบกาล (tense) ในภาษาอังกฤษ แรกเเริ่มเดิมทีคิดว่าความยากนี้เป็นเพราะภาษาไทยไม่มีกาล แต่ภาษาอังกฤษมีกาล ซึ่งอาจทำให้เจ้าของภาษาไทยและเจ้าของภาษาอังกฤษมีความคิดแตกต่างกันในเรื่องเวลา โดยเจ้าของภาษาไทยอาจจะคิดว่าเวลาไม่มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต เพราะภาษาไทยไม่มีเครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้ระบุเวลาอดีต ปัจจุบัน อนาคต ในขณะที่เจ้าของภาษาอังกฤษจะคิดว่าอดีต ปัจจุบัน อนาคต จะมีเส้นแบ่งชัดเจน เมื่อจะพูดถึงเหตุการณ์ใดจะต้องใช้กาลกำกับทุกครั้งว่าเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในอดีต ปัจจุบัน หรืออนาคต
แต่เมื่อดำเนินการวิจัยแล้ว พบว่าจริง ๆ แล้ว ดูเหมือนว่า ทั้งเจ้าของภาษาไทยและเจ้าของภาษาอังกฤษน่าจะมีความคิดเกี่ยวกับเวลาไม่แตกต่างกัน โดยไม่ได้คิดว่าเวลา คือ อดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่คิดว่ามันคือ ความจำเป็น และ ความเป็นไปได้

5. มีข้อเสนอแนะสำหรับผู้ที่สนใจเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษอย่างไร
ที่จริงต้องขอเรียนให้ทราบก่อนว่า สิ่งที่นักภาษาศาสตร์ศึกษาไม่ได้เป็นไปเพื่อประโยชน์ในเชิงการสอนหรือการเรียนภาษา แต่เป็นไปเพื่อการอธิบายปรากฏการณ์ต่าง ๆ ในภาษาใด ๆ เพื่อให้เราสามารถเข้าใจตัวเราเอง ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตชนิดเดียวที่มีภาษาใช้ในการสื่อสารที่ซับซ้อนเช่นนี้ อย่างไรก็ตาม งานวิจัยนี้อาจช่วยผู้ที่สนใจเรียนภาษาไทยและภาษาอังกฤษได้บ้าง กล่าวคือ ผู้ที่เรียนภาษาไทย โดยเฉพาะที่เป็นเจ้าของภาษาอังกฤษ หรือภาษาที่มีกาลอื่น ๆ ควรตระหนักว่า คำพวก ได้ เคย กำลัง อยู่ และ จะ ไม่ใช่คำแสดงกาล (tense) ในภาษาไทย และคำกริยาในภาษาไทยไม่ต้องมีคำบ่งชี้กาลกำกับ เพื่อที่ว่าจะได้ไม่ใช้คำเหล่านี้ฟุ่มเฟือยจนพูดไม่เป็นธรรมชาติในภาษาไทย ถ้าใครเคยได้พูดคุยกับคนอังกฤษหรืออเมริกันที่เพิ่งเริ่มเรียนพูดภาษาไทยได้บ้าง อาจจะเคยสังเกตว่า เมื่อพูดถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแล้วในอดีต เขาจะใช้ ได้ กำกับคำกริยาทุกครั้ง ทำให้สิ่งที่เขาพูดฟังดูแปลก ๆ ครั้งหนึ่งเคยโทรศัพท์ไปหาเพื่อนคนไทยที่มีเพื่อนร่วมห้องทำงานเป็นคนอเมริกันในตอนเย็น และได้รับคำตอบจากคนอเมริกันนี้ว่า “เขาได้ปิดไฟในห้องทำงานแล้ว เขาได้กลับบ้านแล้ว” ซึ่งก็ฟังเข้าใจแต่ไม่ค่อยเป็นธรรมชาติในภาษาไทย
ส่วนเจ้าของภาษาไทยที่เรียนภาษาอังกฤษควรจะตระหนักในทางกลับกันว่า คำกริยาในภาษาอังกฤษต้องมีกาล (tense) กำกับ แต่ที่สำคัญกว่านั้นก็คือระบบกาลที่ซับซ้อนในภาษาอังกฤษอาจอธิบายให้ง่ายขึ้นได้ โดยใช้แนวคิดที่ว่าจริง ๆ แล้ว ไม่มีอดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่เป็นความจำเป็น และ ความเป็นไปได้
เป็นที่น่าสังเกตว่าเครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้บอกกาล (tense) ในภาษาอังกฤษอาจมีการใช้ที่ไม่ตรงกับรูป ตัวอย่างเช่นข้อ (37)–(40) ข้างล่างนี้ ข้อ (37) เป็นการใช้รูปอดีตกาลเพื่อถามอย่างสุภาพกับคนแปลกหน้าที่อยู่ในลิฟต์เดียวกันในขณะพูด (เวลาปัจจุบัน) อีกนัยหนึ่งคือ รูปอดีตกาลอาจใช้แสดงทัศนะภาวะในการถามหรือขอร้องอย่างสุภาพหรือลังเล

(37) Which floor did you want?

ในข้อ (38) ปัจจุบันกาลถูกใช้บอกเล่าเหตุการณ์ที่เกิดแล้วในอดีต เรียกว่าเป็นปัจจุบันกาลเชิงประวัติ (historical present) ซึ่งน่าจะมีทัศนะภาวะหรือระดับความแน่ใจของผู้พูดสูงเท่า ๆ กับเมื่อใช้รูปอดีตกาล

(38) I’m sitting on the verandah when up comes Joe and says …

ข้อ (39) เป็นการใช้รูปปัจจุบันกาลเพื่อบอกเล่าเหตุการณ์ในอนาคต ซึ่งแสดงระดับความแน่ใจของผู้พูดสูงที่สุดในบรรดารูปกริยาต่าง ๆ ที่ใช้บอกเล่าเหตุการณ์ในอนาคตได้ ดังกล่าวแล้วข้างต้น

(39) Mary goes to the opera tomorrow night.

ส่วนในข้อ (40) ‘will’ ซึ่งอาจบอกเวลาอนาคตกลับปรากฏในประโยคที่บอกเวลาปัจจุบัน เป็นตัวอย่างการใช้ ‘will’ เพื่อแสดงทัศนะภาวะชนิดความจำเป็นเชิงความรู้ (epistemic necessity)อย่างชัดเจน โดยผู้พูดมีความแน่ใจสูงว่าเหตุการณ์ดังกล่าวกำลังดำเนินอยู่ในปัจจุบัน

(40) Mary will be in the opera now.

เมื่อเป็นเช่นนี้ จึงอยากให้มีการเสนอการสอนเครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้บอกกาลแนวใหม่โดยอาจมองว่าสิ่งที่เรียกว่าเป็นเครื่องมือทางไวยากรณ์ที่ใช้บอกกาลนั้นจริง ๆ แล้วไม่ได้บอกกาล คืออดีต ปัจจุบัน อนาคต แต่เป็นตัวบ่งชี้ทัศนะภาวะ (modality) ซึ่งน่าจะเป็นสิ่งที่น่าสนใจศึกษาต่อไป

Friday, August 10, 2007

The Lost Tense

That's the title of my second show on Radio Chula, to be recorded within this month, to be on air the first week of next month.
Will be back with more details, the script, etc.

กาลที่หายไป
ชื่อรายการที่จะพูดที่วิทยุจุฬาค่ะ ตั้งชื่อเสียเก๋ไก๋ จริง ๆ ก็พูดเรื่องวิทยานิพนธ์นั่นแหละค่ะ ทำมาตั้งหลายปี ต้องใช้ให้คุ้ม เขียนสคริปต์เสร็จเมื่อไร จะนำมาโพสต์นะคะ

Thursday, August 09, 2007

when I was a Lancome face


 Do you find this hard to believe?

Wednesday, August 01, 2007

Taken on December 26, 2006


The photo was, and it was misplaced so I got hold of it just not long ago. It was the Christmas (or Boxing Day) Party at our Department of English. I had no idea I looked that radiant! But it was also when I collected a few copies of my hard-bound thesis from the binder. Perhaps that explained why.

Tuesday, July 24, 2007

What Jiranthara Means

J is for Joyful

I is for Intelligent

R is for Rebellious

A is for Arty

N is for Neglected

T is for Talented

H is for Humorous

A is for Abstract

R is for Radiant

A is for Artistic

Saturday, July 21, 2007

ประทับใจ

เช้าวานนี้ เมื่อเวลาประมาณ 9:30 น. เจ้าหน้าที่ไปรษณีย์โทรศัพท์มาแจ้งว่า เช้าพรุ่งนี้ (คือวันนี้) จะไปส่งหนังสือแฮร์รี่ พอตเตอร์ เวลา 6-7 น. เมื่อเขาไปกดออด กรุณาตื่นลงมารับหนังสือด้วย
ด้วยความที่เป็นคนเลอะเลือนเรื่องเวลาอยู่เสมอ จึงตอบเขาไปว่า ช่วยมาก่อน 6 โมงได้ไหมคะ เพราะมักจะออกจากบ้านไปทำงานเวลา 6 โมง (ลืมไปว่ามันเป็นวันเสาร์ค่ะ)
เขาตอบว่า ไม่ได้ครับ เขาสั่งมาให้ส่ง 6-7 น. พร้อมกันทั่วโลก
ได้ยินเช่นนั้นแล้ว รู้สึกว่ากำลังเป็นส่วนหนึ่งของบางสิ่งบางอย่างที่ยิ่งใหญ่ค่ะ แล้วก็นึกขึ้นมาได้ว่าเป็นวันเสาร์นี่นา ไม่ต้องรีบออกจากบ้าน
ตอนนี้ได้รับหนังสือมาแล้ว อ่านไปแต่ปกในกับปกหลัง เฝ้าแต่นึกว่า Sirius Black จะกลับมาไหม

Monday, July 09, 2007

วันนี้มีคนบอกรัก (อีกแล้ว)

สอน Syntax 10-12 น. ตามประสาวันจันทร์ มีเรื่องสืบเนื่องจากคราวที่แล้ว ซึ่งทำสนธิสัญญากันว่าถ้ามีใครไม่ทำการบ้านมา ครูจะไม่สอน เพราะการสอนไม่ใช่การบอกคำตอบ ถ้าไม่ได้ทำการบ้านตามที่มอบหมายไป ทำให้สอนไม่ได้ ก็จะไม่สอน
มีแก้วเสนอให้แปรญัตติว่า น่าจะสอนคนที่ทำมา พวกที่ไม่ทำก็เชิญออกจากห้องไป ทีแรกก็เห็นชอบ แต่คิดไปคิดมา ไม่ดีกว่า เพราะเท่ากับสอนให้ถือคติ "ตัวใครตัวมัน" ฉันอยากให้นักเรียนรักเพื่อนมนุษย์และมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่มากกว่า เลยไปเล่าให้ฟังพร้อมกับบอกว่า เวลาทำการบ้านอยู่ให้รู้ว่าเราไม่ใช่แค่กำลังทำเพื่อตัวเอง แต่กำลังทำเพื่อเพื่อนร่วมชั้นเรียนคนอื่น ๆ ที่ก็ต้องทำการบ้านมาเหมือนกัน และทำเพื่อครูด้วย เพื่อครูจะได้ทำหน้าที่สอนได้เต็มที่
เมื่อพูดแล้ว เห็นอลิสา แอล หน้าเป็นสีชพู (ทีีจริงเห็นตั้งแต่เช้า ตอนที่ช่วยถือของแล้วแต่ไม่ได้ทัก) เลยทักว่า อลิสากำลังมีความรักหรือคะ หน้าเลยเป็นสีชมพู อลิสาตอบว่า "ทามาค่ะ และกำลังมีความรักด้วย รักครูค่ะ" :-)

Friday, June 15, 2007

charity work

It's only the end of week 2, 2007a, and my workload has reached a critical point. I've agreed to work on an 8-page English-Thai translation for Chula's translation center, thinking it would be useful for my graduate translation course. But then there is an urgent work from Chula's Exhibition Section (or something), which wants information about Cambridge Honorary Degrees to be translated into Thai (but doesn't want to pay for it -- which is why they've come to Department of English instead of the Translation Center). Well, it would also be useful for my students, wouldn't it?

Monday, June 04, 2007

two events of the weekend

Saturday: My birthday party
Sunday: Rain's Coming World Tour 2007

Friday, May 04, 2007

notebook saga

My Pressario didn't start on 19 April, and I just got my new Satellite last night. It was a long story in between.
To be continued.

Saturday, April 07, 2007

to be on air


อาจารย์ภาวรรณ (ซึ่งจะเกษียณปีนี้) ชวนไปออกรายการวิทยุค่ะ ให้พูดเกี่ยวกับจุฬาฯและเคมบริดจ์ ในหัวข้อที่ว่า "ความเหมือน ความแตกต่าง การประยุกต์ใช้" จะไปอัดเทปบ่ายวันพุธที่จะถึงนี้นะคะ (หลังจากประชุม BBA)

สนุกหละค่ะทีนี้ เรื่องหนึ่งที่อยากพูดคือการที่อยู่ ๆ ภาควิชาของดิฉันก็อยากเปิดวิชาทำนอง English for Profession หรือ English for Tourism ขึ้นมา ต้องการจะเน้น practical subjects ไม่ใช่ academic stuff แล้ว ทั้ง ๆ ที่เราไม่ใช่ vocational school นะคะ ลองไปดู Vice-Chancellor ของ Cambridge (เป็นผู้หญิงเรียนที่ Newnham เหมือนดิฉันค่ะ ;-) พูดข้างล่างนี้นะคะ

ฉันรู้สึกว่าเราต้องเน้น academic stuff ค่ะ เรียนจบอักษรฯ เอกภาษาอังกฤษ ต้องรู้ภาษาอังกฤษดีกว่าคนจบคณะอื่นที่ใช้ภาษาอังกฤษได้สิคะ (เดี๋ยวนี้ ดูเหมือนใคร ๆ ก็เก่ง ๆ ทั้งนั้นเลยค่ะ อย่างเช่นเด็กบัญชีอินเตอร์ที่สอนอยู่นะคะ ชมเสียหน่อย เผื่อว่าจะมาอ่านค่ะ) ระบบเสียง โครงสร้างคำ โครงสร้างประโยค ประวัติความเป็นมาของภาษาอังกฤษ Old English, Middle English, Modern English ควรรู้ให้หมด ถ้าจะสอนแต่เน้นทักษะ เปิดโรงเรียนกวดวิชากันดีกว่าค่ะ


Notes: CAM = Cambridge Alumni Magazine, AR = Alison Richard (University of Cambridge Vice-Chancellor)

CAM: Will the fact that undergraduates are now paying £3,000 a year for tuition change Cambridge?
AR: I anticipate that students and their families will certainly be paying more attention to the quality of their educational experience, and that’s no bad thing. But it won’t reshape the fundamentals of what we do. We’re not in the business of fact-cramming or vocational training. We’re educating students to think for themselves and to think critically.
CAM: So we won’t see courses in Golf Course Management?
AR: Universities do different things, and some focus more on practical skills. Cambridge operates across a broader spectrum and emphasises the value of learning for its own sake as a way of training the mind. How that education is conceived and delivered remains primarily in the hands of our academics – and I must say that the seriousness with which they take this responsibility is truly impressive, even inspiring.
CAM: What you’re saying is effectively parallel to the advice given to prospective students about A-levels on the university website? That Cambridge isn’t disparaging practical subjects, but what it does is the academic stuff.
AR: That’s exactly right. Cambridge is academically rigorous and it’s better that students know that well in advance if they aspire to study here.

อ่านเต็ม ๆ ได้ที่นี่ (หรือที่หน้าห้องทำงานดิฉัน พริ้นท์ไปติดไว้แล้วค่ะ)

Monday, April 02, 2007

busy ant


Very busy. Spent two days in the Department Seminar last week; spent forever dealing with the BBA course, grading, getting prepared for class, familiarizing myself with the APA style, looking for material for final exams. Was working on a translation that was overdue. Now having two completely new course syllabi to get done; one for the MA (English) program and the other for MA (Translation) program.

But of course I had time to take my niece and nephews to the zoo. See more pictures here.

Wednesday, March 14, 2007

hello from building 4

I'm in the library sceince laboratory, learning how to create electronic texts using Acrobat 7 Professional. It is great fun. It's a pity though that I have to go to a meeting after lunch, but I'll surely be back.

Tuesday, March 13, 2007

ภาพเก่า ๆ


เหตุเกิดจากขวัญซึ่งเคยเจอกันเมื่อ 10 กว่าปีที่แล้วที่ภูกระดึงมาเยี่ยมพร้อมกับถือรูปคู่และรูปหมู่ที่ผาหล่มสักมาด้วย ทำให้กลับไปดูรูปสมัยที่ยังไม่มีกล้องดิจิตอล สวย ๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ

อีกเหตุหนึ่งคือมีงานแต่ไม่อยากทำก็เลยทำโน่นทำนี่เล่นไปเรื่อยค่ะ

Sunday, March 11, 2007

ใครรู้บ้าง

1. Frame drum และ secular nationalism แปลเป็นไทยได้ว่าอะไรคะ
2. ทำไมฉันต้องเข้ามาทำงานวันอาทิตย์ทั้ง ๆ ที่ตอนนี้เป็นช่วงปิดเทอมด้วยคะ
3. เมื่อวันศุกร์ โกอินเตอร์มาแล้วค่ะ แต่เด็กบัญชีอินเตอร์ที่ไปสอนมาพูดแต่ภาษาไทยกันทั้งห้องเลย ทำไมก็ไม่รู้
4. สัปดาห์ที่จะถึงนี้ แน่นมากค่ะ จันทร์ อังคารเช้า ทำงานแปลต่อ (ซึ่งคงไม่เสร็จทันกำหนดอีกตามเคย) อังคารบ่าย ทำคะแนน พุธเช้าบ่าย อบรม electronic texts พุธบ่าย ประชุมเรื่องสอนวันศุกร์ พฤหัสเช้า ศุกร์เช้า คุมสอบเข้าปริญญาโทของภาค พฤหัสบ่าย เตรียมสอน ศุกร์บ่าย สอน
ปัญหาคือฉันจะแยกร่างอย่างไรสำหรับพุธบ่ายค่ะ

Saturday, March 03, 2007

it has started

It refers to me coming in to work on Saturday.

Wednesday, February 28, 2007

I just love to complain

มด: อาทิตย์หน้าต้องสอนแล้วเนี่ย (คิดในใจ: ยังไม่ได้เตรียมตัวเลย)
ป้อม: เป็นครูก็ต้องสอนหนังสือสิ จะมาบ่นทำไม ยายเบ๊อะ
มด: นั่นสินะ เป็นครูจะให้ไปพบลูกค้า bank ได้ยังไงเนอะ

ที่ไม่ได้เตรียมสอน เพราะวุ่นอยู่กับการอ่านงานแปล 53 หน้าค่ะ พูดดีๆ ได้ว่าเป็นบรรณาธิการต้นฉบับ เรื่องเกี่ยวกับระบบการบริหารจัดการของบริษัทผลิตคอมเพรสเซอร์ในเยอรมัน (ซึ่งดิฉันเชี่ยวชาญตั้งแต่เมื่อไรคะ)

งานยุ่งที่นี่มี 2 แบบคือแบบสนุกกับแบบไม่ไหวแล้ว ส่วนงานก็แบ่งเป็น 2 แบบคืองานที่ต้องทำ (จงก้มหน้าทำไป) กับงานที่เลือกปฏิเสธได้ (หาได้ยากค่ะ หลายปีมาแล้วเคยปฏิเสธงานจัด remedial course ในช่วง summer โดยให้เหตุผลว่าจะ revise course material ของวิชาอะไรสักอย่าง ปรากฎว่า 2 อาทิตย์ให้หลังก็ถูกเรียกไปมอบหมายงานเดิม ไม่รู้ว่าหาคนอื่นไม่ได้ หรือลืมว่าเราเคยปฏิเสธไปแล้ว ก็เลยต้องรับทำค่ะ)

งานอ่านที่ทำอยู่เป็นแบบไม่สนุกและเลือกปฏิเสธได้แต่ไม่ได้ปฏิเสธค่ะ ทำไปก็ต้องบ่นไป กำหนดส่งวันนี้ แต่ขอเลื่อนส่งไปเรียบร้อยแล้วค่ะ

Monday, February 19, 2007

dead link

ถ้าใครคลิ๊กที่รายชื่ออาจารย์ภาควิชาภาษาอังกฤษ จะพบว่าดิฉันเป็นลิงค์ตายอยู่คนเดียวนะคะ เพราะว่าเขาทำเวปนี้กันตอนฉันไม่อยู่น่ะสิ วันนี้จึงปลีกเวลาโม้ประวัติตัวเองเป็นภาษาไทยและอังกฤษไว้ดังนี้ แล้วมันจะไปปรากฏที่นั่นพร้อมกับรูปทางซ้ายมือนี้ เร็วๆนี้ค่ะ





Name and academic title
Assistant Professor Jiranthara Srioutai, PhD
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. จิรันธรา ศรีอุทัย
Office
1120 Boromrajakumari Building
1120 อาคารบรมราชกุมารี
Phone
02 218-4718
Email
jiranthara.s@chula.ac.th
Webpage
http://pioneer.netserv.chula.ac.th/~sjiranth/

Education
B.A. (first class honors), English, Thammasat University
Grad. Dip., English - Thai Translation, Thammasat University
M.A., English, Chulalongkorn University
M.Phil., Linguistics, University of Cambridge
Ph.D., Linguistics, University of Cambridge

ศิลปศาสตร์บัณฑิต (เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง) สาขาวิชาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
ประกาศนียบัตรบัณฑิตทางการแปลภาษาอังกฤษและภาษาไทย มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
อักษรศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
มหาบัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์
ดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาภาษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเคมบริดจ์

Areas of interest
Semantics and Pragmatics
Translation

อรรถศาสตร์และวัจนปฏิบัติศาสตร์
การแปล

Subjects taught
Undergraduate Courses
English Reading
English Composition
English Integrated Skills
English – Thai and Thai – English Translation
Introduction to English Morphology and Syntax

Graduate Courses
English – Thai Translation

ระดับปริญญาตรี
การอ่านภาษาอังกฤษ
การเขียนภาษาอังกฤษ
ทักษะประสมภาษาอังกฤษ
การแปลอังกฤษ – ไทย และไทย – อังกฤษ

ระดับปริญญาโท
การแปลอังกฤษ – ไทย

Academic work/ publications

Srioutai, Jiranthara. (2006) Conceptualisation of Time in Thai with Special Reference to D1ay1II, Kh3oe:y, K1aml3ng, Y3u:I and C1a. PhD thesis. University of Cambridge.

Journal articles
Srioutai, Jiranthara. (forthcoming) "A Case Study of Differences in 'Thinking for Speaking' about Past Eventualities in Thai and English" Manusya: Journal of Humanities.
Srioutai, Jiranthara. (2005) "The (non-) progressive in Thai" In: Faye Chalcraft and Efthymios Sipetzis (eds.) Cambridge Occasional Papers in Linguistics, Vol. 2, University of Cambridge.
Srioutai, Jiranthara. (2004) "The Thai c1a: A Marker of Tense or Modality?" In: E. Daskalaski et. al. (ed.) Second CamLing Proceedings, University of Cambridge.
Srioutai, Jiranthara. (2001) "Viewing and Teaching the English Articles Semantically" Faculty of Arts Journal. July - December 2001.
Srioutai, Jiranthara. (2000) "An Application of Semantic Primes to Dictionary Definitions: SOMEONE and SOMETHING in Thai" Thoughts 2000.
Srioutai, Jiranthara. (1999) "The Effects of Context and Grammar on the Phonetic Properties of Speech" Thoughts 1999.

Course Materials
Crabtree, Michael and Jiranthara Srioutai. (2001) 2202209 English Composition.
Srioutai, Jiranthara et. al. (2001) 220219 English Reading.
Srioutai, Jiranthara. (1999) 2202122 Basic Translation 2. Srioutai, Jiranthara et. al. (1999) 2202219 English Reading.
Srioutai, Jiranthara and Nattama Pongpairoj. (1998) 2202219 English Reading.

Translations
Schwartz, Morrie. (2005) Morie: In His Own Words. (Jiranthara Srioutai, Trans.). Bangkok: Se-Education. Original work published 1996.
Waugh, Daisy. (2004) The New You Survival Kit. (Jiranthara Srioutai, Trans.). Bangkok: Nation Book. Original work published 2002.
Waugh, Daisy. (2004) Ten Steps to Happiness. (Jiranthara Srioutai, Trans.). Bangkok: Nation Book. Original work published 2003.

Work in progress
“Semantic Representation of Expressions with Past-time
Reference: Evidence from English-Thai and Thai-English Translation”
โครงการเสนอขอทุนพัฒนาอาจารย์ใหม่/นักวิจัยใหม่ กองทุนรัชดาภิเษกสมโภช
“รูปแทนทางอรรถศาสตร์ของข้อความเฉพาะที่ให้ความหมายอ้างอิงเชิงอดีตกาล: หลักฐานจากการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ”


เคยได้ยิน Linguistics Olimpics ไหมคะ ถ้าสนใจคลิ๊กที่นี่เลยค่ะ

Friday, February 16, 2007

Satuk soil

เมื่อวานนี้มีนัดค่ะ เลยไม่ได้มาเขียน
ในที่สุดก็รู้ว่า "ดินสตึก" = "Satuk soil" มันเป็นชื่ออำเภอหนึ่งในจังหวัดบุรีรัมย์ค่ะ

Wednesday, February 14, 2007

market of love


I'm exhausted but have just finished the first draft of a Thai-English translation about a drainage design and flood prevention project. There are some missing words to be filled (who knows eg what ดินสตึก is in English?), and I'll have to read through the 12 pages of texts and another 10 pages of figures and tables tomorrow, which is when it is due.
I had lunch at the Market of Love at Engineering Faculty and received this recipe of love cake on the left and the following quoation this Valentine's Day.

Love is an irresistable desire to be irresistably desired.
Robert Frost

Tuesday, February 13, 2007

tips for translators and more

Do not accept to work on a translation 1. (too far) outside your field, 2. out of consideration that if you don't do it, no one will, and those looking for a translator (usually those you love and respect) will be in trouble.
Other jobs you may need to do, as a university lecturer, apart from the obvious teaching and researching: checking if the fourth-years have taken all that are required for them to graduate, checking if the Graduate School website contains the correct information about your MA curriculum.

Monday, February 12, 2007

a tiring bad hair day

A lot to do, a little done. This, despite the fact that I haven't started teaching. Got to go home now; can't write even one more word.

Friday, February 09, 2007

Grad Forum

Arrived at work earlier than usual but just got to sit down in my office. Was in the meeting room the whole morning for Grad Forum, where our MA students had a presentation of their research conducted last semester. They were much better presenters than me when I was an MA student here. All used a power point presentation; I just learned to do it two years ago.

Thursday, February 08, 2007

proposal

“รูปแทนทางอรรถศาสตร์ของข้อความเฉพาะที่ให้ความหมายอ้างอิงเชิงอดีตกาล: หลักฐานจากการแปลภาษาอังกฤษเป็นภาษาไทยและภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ”
That's the Thai name of the research proposal that I got done today (finally). It's bearly comprehensible even for me. But it's a regulation/tradition to write such a proposal in Thai. The much easier to understand title is: Semantic Representation of Expressions with Past-time Reference: Evidence from English-Thai and Thai-English Translation. I don't blame you if you can't find any sense in this, though.

Monday, February 05, 2007

webpage

I spent today modifying my webpage at Chula. Click here to have a look.

Thursday, January 25, 2007

a glimpse of Chulasic Park

Just to give you an idea.
The other day we had a department meeting in order to discuss revision of the present curriculum (which started to be in use in 2003, which in turn means I never taught this). Everybody else had a copy except Gail, who resumed teaching in November, and me. Today we went to the Faculty office together to ask for one each and were told we had to write a memo to the associate dean for academic affairs through our department head to obtain it.

Just realized I received a few comments in this blog when it was still TEST. Click here for the most impressive one.

Wednesday, January 24, 2007

introducing Choola Choola

Decided to recycle this blog instead of starting a new one, after my second year of blogging is done at Snippets of nuts, for fear of creating too much cyber trash.
Will be writing about not only my teaching, research, and administration responsibilities at Chula (which sometimes turns into Chulasic Park, in the words of one of my colleagues/friends) but also anything related, such as how my office outfits have become too small over the past four years while I was away (they must have shrunk or something) and how I have to torture myself wearing high-heels, going to work.
See also it's time to move.